ฟางข้าว เป็นส่วนของต้นข้าวที่เหลือหลังการเก็บเกี่ยว และนำเมล็ดข้าวออกแล้ว ฟางข้าวเหล่านี้ ถือเป็นผลพลอยได้ทางการเกษตรจากนาข้าว จากแต่เดิมนั้น ชาวนาแทบจะไม่เห็นคุณค่าของฟางข้าวเลย หลังเก็บเกี่ยว ตีนวดข้าวนำเอาเมล็ดไปแล้ว ก็จะปล่อยทิ้งแบบไม่สนใจใยดี พอถึงช่วงแล้งก่อนจะลงทำนารอบใหม่ ส่วนมากก็จะจุดไฟเผาทิ้งไป อย่างไร้คุณค่าของฟางข้าว 

แต่ระยะหลังมา เริ่มมีการมองเห็นคุณค่าประโยชน์ของฟางข้าว กันมากขึ้นซึ่งหากจะดู จากคุณค่าทางโภชนาการ พบว่า มีสารอาหารมากมาย อาทิ โปรตีน 3.44% ไขมัน 1.88% เยื่อใย 37.48% ปริมาณเถ้า 12.30% และ ฟอสฟอรัส (P2O5) 0.11% ทำให้มีเกษตรกร ได้นำเอา ประโยชน์จากฟางข้าว มาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะ ใช้เป็นอาหารหยาบสำหรับเลี้ยงโค กระบือ ใช้ทำปุ๋ยหมัก ใช้ทำเป็นวัสดุปกคลุมดินหลังการหว่านเมล็ดพืช ใช้ทำเป็นวัสดุคลุมดินสำหรับรักษาความชุ่มชื้นของดิน และใช้คลุมดินแก้ปัญหาดินเค็ม ใช้เป็นวัสดุสำหรับการเพาะเห็ดฟาง และอีกหลากหลายอย่างถึงประโยชน์ของฟางข้าว 

วันนี้(12 กค.68) นายอำพน ศิริคำ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู

นำพาผู้ชมไปสัมผัสกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เป็นโรงบรรจุทำเห็ดพาโลจากฟางข้าว เป็นเห็ดนางฟ้า พาโล  ที่เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่จะนำไปโชว์ สาธิต จำหน่าย ในงานเกษตรแฟร์ ของดีเมืองลุ่มภู ระหว่างวันที่ 16-20 กค.68 ณ สนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู เราไปกันที่สวนแคร์นาวัง บ้านนาซำจวง ตำบลนาแก อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมี นางสาวทองใหม่ บุตตะวงค์ เป็นผู้นำของกลุ่ม ได้ทำการผลิตเห็ด จากวัสดุเหลือใช้ในนาข้าว คือ “ฟางข้าว” ซึ่งแต่เดิมก็เคยเห็นการนำเอาฟางข้าวมาเป็นวัสดุสำหรับเพาะเห็ดฟาง จนกลายเป็นความคุ้นชินไปนานแม้ว่าจะนำเอาวัสดุชนิดอื่นมาเพาะเห็ดฟาง ไม่ว่า จะเป็นเปลือกหัวมันสำปะหลัง เปลือกถั่วเขียว ต้นกล้วยหรือวัสดุอื่น ก็ยังคงเรียกเห็ดฟางอยู่เหมือนเดิม

นางสาวทองใหม่ บุตตะวงศ์ สาวพาณิชย์จบบัญชี ผู้พลิกชีวิต ผุดไอเดีย ”เปลี่ยนฟางข้าวไร้ค่า เป็น”เห็ดนางฟ้า พาโล” รสชาดกลิ่นหอมจากฟางข้าว ดอกนุ่มดี เป็นที่ต้องการของลูกค้ากินแล้ว ติดใจในรสชาด”ทำเงิน พาโล พารวย” ของฟางข้าวเลย สวนแคร์นาวังของ นางสาวทองใหม่ฯสาวพาณิชย์เจ้าของไอเดียนี้กล่าวว่าจากชื่อที่ว่า” เห็ด นางฟ้า ถุงพาโล “ ที่ดูเป็นคำที่แปลกใหม่ว่า ไม่คุ้นชินจากที่เคยเห็นและได้ยินมา จึงได้รับการเปิดเผยขยายความ

คำว่า “พาโล” เป็นคำภาษาอีสาน ที่คนอีสาน มักพูดกันเมื่อมีการทำอะไรที่มีขนาดเกินไปจากที่เคยทำทั่วไปเรียกว่า” ทำพาโล พางาย” เป็นเรื่องที่เกินไปกว่าปกติ ปกติถุงเห็ดนางฟ้า จากขี้เลื่อยไม้ยางพารา อะไรพวกนี้ ขนาดหนึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม การทำขนาดเล็กยุ่งยาก เราจึงคิดกันว่าเมื่อทำถุงเล็กได้ เราก็น่าจะทำถุงใหญ่ จะได้เห็ดปริมาณมาก ทำง่ายสะดวกกว่า

นายอำพน ศิริคำ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู บอกว่าที่สวนแคร์นาวังกลุ่มนี้ ได้มองหาสิ่งทดแทน ที่เหลือทิ้งในแปลงนา มาทดแทนการเพาะปลูกเห็ดของพวกเขา จากขี้เลื่อย มาเป็นฟางข้าวแทน ด้วยความอยากจะค้นหา อยากจะลองดู ซึ่งเป็นความท้าทายว่าจะทำได้หรือไม่ ทั้งก่อนหน้านี้ มีคนเคยทำมาก่อนหรือไม่เพียงแต่ สันนิษฐานจากพื้นที่ฐานที่ แต่ก่อนพ่อแม่ เคยพาทำเห็ดฟางกองเตี้ย จึงลองทดแทนการทำเห็ดด้วยฟางข้าวแทน ซึ่งผลที่ได้รับ จากการนำเชื้อ เห็ดนางฟ้า เห็ดบดหรือเห็ดลม เชื้อเห็ดหลายชนิดที่ทดลอง มาจบที่ “เห็ดนางฟ้า” ให้ผลตอบแทนดีกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ ทำให้พวกเขาได้เริ่มก้าวเดินและพัฒนาสิ่งที่ค้นคิดได้ และขยายเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ในชื่อว่า “เห็ดนางฟ้า ถุงพาโล”

นายอำพนฯ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวทิ้งท้ายว่าในงานเกษตรแฟร์ ของดีเมืองลุ่มภู ไม่ต้องไปถึงอำเภอนาวังซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แหล่งผลิตเห็ดฟางข้าว พาโล ไปดูความว้าว !! ของเห็ดพาโลที่จังหวัดหนองบัวลำภู โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดหนองบัวลำภู ร่วมกันเปิดบ้าน เปิดเมือง เกษตรแฟร์ ของดีเมืองลุ่มภู”ชม ช้อป ซิม แชร์ของดีเจาก 6 อำเภอของจังหวัด “จากท้องนา สู่พาข้าว”16-20 กค.68 ณ สนามกีฬากลางจังหวัดหนองบัวลำภู งานนี้มีว้าว !! แน่นอน










 สุภัชรกานต์  แก้วสิงห์ ขตว.หนองบัวลำภู

แสดงความคิดเห็น