Top News/ข่าวยอดนิยม

Recent News/ข่าวล่าสุด

ศาลยกฟ้องเจ้าของ “ตลาดมหาชัยเมืองใหม่” ขณะที่ทนายโจทก์ขอถอนคดีแจ้งความเท็จ-หมิ่นประมาทออกจากสารบบคดีความ

 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา ที่ศาลแขวงพระนครใต้ ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดี หมายเลขดำที่ อ 2040/2565 คดีหมายเลขแดงที่ 2017 /67 ระหว่าง นางสาวปริญดา แซ่ลี้ กับ นางสาวศิญารัตน์ อิสระวงศ์ชัย หรือ นางสาวอานา ลิ้มเจริญ เจ้าของตลาดมหาชัยเมืองใหม่ ข้อหาแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท เพื่อนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยวันนี้ 


โดยทนายโจทก์ ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยอีกต่อไป


ขณะที่ จำเลยยื่นคำร้อง หากโจทก์ถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้านแค่ประเด็นถอนฟ้องเท่านั้น โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆผูกพันกับจำเลย และอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีนี้ออกเสียจากสารบบความ


ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก นางสาวปริญดากับพวก ได้ใช้ห้องชุดที่อาคารแฟ้ทาวเวอร์ ซอยสุขุมวิท 50 ประกอบธุรกิจ ซึ่งกฎหมายอาคารชุดไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจได้หรือใช้สิทธ์เกินส่วนทำให้ผู้พักอาศัยเดือดร้อนรำคาญ จึงนำไปสู่การฟ้องร้อง และนางสาวปริญดา แซ่ลี้ ได้นำผลจากศาลชั้นต้นที่ยังไม่มีผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

นำมาฟ้องเจ้าของตลาดมหาชัยเมืองใหม่ ที่ศาลแขวงพระนครใต้ คดีดำที่ 2040/2565 ข้อหาแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท และศาลอาญาใต้ คดีดำที่ 1917/2566 ซึ่งศาลอาญาใต้ได้มีคำพิพากษาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ให้ยกฟ้องเจ้าของตลาดมหาชัยเมืองใหม่ และพวกรวม 9 คน 


ทำให้นางสาวปริญดา ได้ทำการถอนฟ้อง คดีที่ศาลแขวงพระนครใต้เลขคดี 2040/ 2565 เพราะหากสู้คดีต่อไปก็จะยกฟ้องเหมือนกับคดีที่ศาลอาญากรุงเทพฯใต้ จึงได้ถอนฟ้องขึ้น 



///

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จัดพิธี รับ ส่ง หน้าที่ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ อย่างสมเกียรติ

 


เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 2 ตุลาคม 2567 ที่บริเวณสนามหน้า กองบัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี พลเอก วัฒนา ฉัตรรัตนแสง ในฐานะอดีต ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้กระทำพิธีลงนามในเอกสาร เพื่อส่งมอบการบังคับบัญชา หน่วยรบพิเศษ และ มอบธงประจำหน่วย ให้แก่ พลโท ณรงค์ฤทธิ์ คัมภีระ ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ให้รับราชการในตำแหน่ง เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ท่านใหม่ อย่างเป็นทางการ
       โดยหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้จัดกำลังพล 2 กองพันทหารหน่วยรบพิเศษ กระทำพิธี “วิ่งสวนสนาม” เพื่อเทิดเกียรติแก่ผู้บังคับบัญชา ทั้ง 2 ท่าน ซึ่งถือเป็นพิธีอันทรงเกียรติ และสง่างามสมเกียรติ ในการรับ-ส่งหน้าที่ ของ ทหารหน่วยรบพิเศษ ของกองทัพบกไทย    
       ทั้งนี้ พลโท ณรงค์ฤทธิ์ คัมภีระ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ท่านใหม่ ได้กล่าวแสดงความยินดี พลเอก วัฒนา ฉัตรรัตนแสง อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ตามที่มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งใหม่ เป็นผู้อำนวยการศูนย์การอุสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของทหารรบพิเศษ พร้อมทั้ง ได้กล่าวให้โอวาท แก่กำลังพลนักรบพิเศษ ว่าพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ อย่างเต็มความสามารถ โดยยึดมั่นในคุณธรรม ตลอดจน พัฒนาหน่วยรบพิเศษ ให้เป็น Topman ของกองทัพบก ให้สมกับที่ได้รับความไว้วางใจ จากผู้บังคับบัญชา และกองทัพบก อย่างเต็มกำลังความสามารถ อีกด้วย




                       พีรพล ปานเกลียว รายงาน

กรมชลประทาน” ถอดบทเรียนน้ำท่วมภาคเหนือ เผยแผนฟื้นฟู พร้อมให้ทุกคนเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำ


จากวิกฤตน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีความรุนแรงมากขึ้น และยังส่งผลกระทบออกเป็นวงกว้าง เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาอุทกภัยและหาแนวทางในการรับมือ กรมชลประทานได้ออกมาให้ความรู้กับพี่น้องประชาชน เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงภัยธรรมชาติ ครั้งนี้ 
  “นายเดช เล็กวิชัย” รองอธิบดีกรมชลประทาน แสดงความคิดเห็นถึงเหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงรายและเสนอแนวทางแก้ปัญหา “เหตุการณ์น้ำท่วมเชียงรายถือว่าหนักสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา การแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือ คือต้องฟื้นฟูระบบคลองต่างๆ ที่ใช้เป็นเหมือนเส้นเลือดย่อยๆ ในการช่วยระบายน้ำ สิ่งกีดขวางทางน้ำต่างๆ จัดการให้หมด โดยเฉพาะน้ำท่วมในเขตเมืองเพราะผังเมืองบางทีไม่ได้รองรับฝนที่ตกเกินกว่ากำหนด น้ำควรจะมีทางไป หรือฟลัดเวย์สำหรับการจัดการมวลน้ำในภาคเหนือ มองว่าตอนนี้โครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในเขตจังหวัดเชียงรายหรือจังหวัดเชียงใหม่เอง ตัวของอาคารบังคับน้ำ โครงสร้างพื้นฐานยังมีไม่มากนัก เรื่องอนาคตเป็นเรื่องของการศึกษาโดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย ในการที่จะปรับปรุงลำน้ำ หรือทางผันน้ำจากแม่น้ำกกลงอ้อมเมืองลงสู่แม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด”
"เนื่องจากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าจะหมดสิ้นฤดูฝนของภาคเหนือ ภาคกลาง หลังสิ้นเดือนตุลาคม เรามีระยะเวลาการดำเนินงานที่ต้องติดตามพื้นที่เสี่ยงอีกประมาณหนึ่งเดือน ฉะนั้นการจัดการจะมีภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานตอนบน ตรงนี้ต้องจัดการในเรื่องของเขื่อน เพื่อให้กักเก็บน้ำได้มากที่สุด แล้วไม่ระบายน้ำมากระทบกับชาวบ้าน ในเรื่องของการระบายน้ำเรามีพร่องน้ำรอในระบบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคลอง ลำน้ำธรรมชาติ เพื่อรองรับฝนที่จะตกในพื้นที่ ส่วนการบริหารจัดการทุ่งต่างๆ กรมชลประทานดำเนินการในเรื่องของการจัดระบบการเพาะปลูก ซึ่งจะเก็บเกี่ยวภายในเดือนนี้แล้วเสร็จทั้งหมดในพื้นที่ประมาณหนึ่งล้านไร่ เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ลุ่มต่ำไม่เกิดความเสียหาย”


นอกจากนี้สภาพดินฟ้าอากาศของเพื่อนบ้าน ก็เป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าติดตาม “ต้องมีการแชร์ข้อมูลกันว่าสภาพอากาศในประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร มีการบริหารจัดการน้ำเขื่อนในประเทศอย่างไร ต้องรู้ว่าเค้าจัดการยังไง เพื่อที่เราเองจะได้รู้ว่าต้องจัดการบ้านเรายังไง” 


  ทั้งนี้ “รองฯ เดช” ยังกล่าวปิดท้ายอีกว่า ทุกๆ บทเรียนของอุทกภัยที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ถอดบทเรียน เพื่อนำมาสู่ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการน้ำ “จากกระบวนการที่ผ่านมา เราเอาเคสวิกฤตมาถอดบทเรียน มองว่าประสิทธิภาพในการจัดการน้ำของกรมชลประทานดีขึ้นเรื่อยๆ เราต้องจัดการน้ำให้น้ำมีที่อยู่และมีที่ไป ถ้าน้ำไม่มีที่อยู่ไม่มีที่ไป มันก็อั้น พออั้นปุ๊บก็กลายเป็นไปไหนไม่ได้ ระเบิดเป็นโดมิโน่ เราต้องทยอยให้น้ำมีที่อยู่ มีที่ไปที่เหมาะสม ผลกระทบมันก็จะน้อย”


  สุดท้ายนี้คนไทยทุกคนต้องปรับตัวและอยู่คู่กับน้ำให้ได้ “เราต้องให้คนเรียนรู้อยู่กับน้ำได้ เพราะเมืองไทยฝนเยอะ เราสามารถกักเก็บน้ำตอนฝนตกได้แค่หนึ่งในสามจากฝนที่ตกทั้งประเทศ ฉะนั้นส่วนที่เหลือ น้ำก็ต้องมีที่ไป แต่จะไปไหนได้สุดท้ายก็ไหลมาหาพวกเรา ฉะนั้นทุกประเทศเหมือนกัน ต้องปรับตัวให้อยู่กับน้ำ จะต้องมีการกำหนดพื้นที่ที่ระบุว่าเป็นพื้นที่เก็บน้ำ ทางน้ำผ่าน ต้องระบุชัดเจน ทุกประเทศเป็นเหมือนกัน ตอนสุดท้ายต้องมาดูเรื่องความเสียหาย มาตรการช่วยเหลือเยียวยามีความจำเป็น อย่างเรื่องน้ำท่วมเชียงราย คงต้องมีการศึกษาเรื่องการผันน้ำ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ส่วนเรื่องระบบชลประทาน จะบริหารจัดการ ระบาย และกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุดในฤดูฝน เรามีทีมควบคุมการระบายน้ำ การทดน้ำ ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เต็มศักยภาพ โดยใช้ผลคาดการณ์ที่มีการยืนยันในเรื่องของการจัดการภายใต้สภาวะของระบบที่มีอยู่” 





ชาวลำพูนอ่วม!!ผจญน้ำเน่า ทุกข์ระทมมานานวอนเร่งแก้ไข

เมื่อวันที่ 2 ต.ค.2567 ชาวลำพูนทุกข์ระทมอย่างแสนสาหัส จากน้ำเน่าท่วมขังชี่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากเขตพื้นที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ และน้ำไม่สามารถไหลลงสู่น้ำปิงได้ เนื่องจากระดับน้ำปิงยังสูงอยู่และท่อระบายน้ำมีขนาดเล็กเกินไป

พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเน่าท่วมขังมาตั้งแต่หมู่บ้านหนองช้างคืน ต.หนองช้างคืน อ.เมืองลำพูน ชึ่งติดกับ ต.หนองแฝก อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ผ่านต่อไปยังต.อุโมงค์ ต.เหมืองง่า ต.เวียงยอง ต.ต้นธง ลงสู่แม่น้ำกวงที่บ้านสบทา อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ลงไปสู่แม่น้ำปิง 
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตำบลแถบนี้ได้รับความเดือดร้อนน้ำท่วมขังและเน่าเหม็นมาเป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์แล้ว ทางครูโรงเรียนสันต้นธง แทบทนไม่ไหวน้ำเน่าเหม็นอย่างรุนแรงถึงแม้ว่าจะทำงานในห้องก็ตาม ชึ่งทางจ.เชียงใหม่ ได้เร่งผลักดันน้ำจากพื้น เข้าสู่เขตพื้นที่เมืองลำพูนในขณะนี้ แต่เมืองลำพูนไม่ได้เตรียมรองรับไว้ก่อนจึงเกิดปัญหาตามมา และทางชาวบ้านต่างพูดว่าอาศัยอยู่ในพื้นที่มาหลายสิบปีเพิ่งเจอวิฤกตน้ำเน่าท่วมขังในปีนี้






ล้างท้องก่อนกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดยะลาเริ่มแล้ว พร้อมรับเทศกาลกินเจ

บรรยากาศเตรียมความพร้อมของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดยะลาวันนี้(2ต.ค.67)

เริ่มออกจับจ่ายซื้ออาหารเจรับทาน โดยที่ร้านชามเจ ถนนศรีบำรุง ต่างมีชาวบ้านที่เริ่มออกมาซื้ออาหารเจ มีทั้งแบบซื้อกินที่ร้านและซื้อกลับบ้าน โดยประเพณีกินเจ ที่เรียกว่า "เก้าอ๊วงเจ" หรือ "กิ้วอ๊วงเจ" ซึ่งแปลว่า เจเดือน 9 นั้น คนเชื้อสายจีนบางคนการกินเจถือเป็นประเพณีและความเชื่อทางศาสนาที่จะถือศีลกินเจเพื่อชำระร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ ส่วนคนไทยเชื้อสายจีนนั้น การกินเจ เป็นการรักษาศีล 8 ตามพุทธนิกายมหายาน เชื่อกันว่า การกินเจจะช่วยละเว้นการฆ่าสัตว์ ถือเป็นการสักการบูชาแก่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์กวนอิมหรือเจ้าแม่กวนอิม โดยเทศกาลกินเจ 2567 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567
โดยวันนี้(2ต.ค.67) จะเริ่มด้วยการล้างท้องก่อนกินเจ คือ การเริ่มงดกินเนื้อสัตว์และผักบางชนิดที่ไม่ถูกต้องตามหลักการกินเจ อาทิ กระเทียม ,หัวหอม ,กุยช่าย และ กระเทียมโทนจีน เป็นต้น โดยจะเริ่มล้างท้องก่อนกินเจประมาณ 1-2 วัน เพื่อชะล้างเนื้อสัตว์ในร่างกายออกไปให้หมดก่อนโดยต้องเริ่มจากการปรับเพียงเล็กน้อย ปรับไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพได้ทัน ก่อนที่พรุ่งนี้จะเริ่มเทศกาลกินเจ ต่อเนื่องไปอีก9วันนั้นเอง โดย บรรดาร้านขายอาหารเจ ในเขตเทศบาลนครยะลา ต่างนำธงสัญลักษณ์สีเหลือง ตัวอักษรจีน ในการเข้าสู่เทศกาลกินเจ มาประดับตกแต่งร้านเพื่อให้ประชาชนสังเกตได้ง่าย
ในส่วนของราคาอาหารเจปีนี้ ทางร้านขายอาหารเจ ส่วนใหญ่ยังคงราคาเดิม ไว้ ถึงแม้นว่าราคาผัก วัสดุที่จะนำมาประกอบอาหารเจจะขึ้นราคา โดยแกงถุง 1 อย่าง จะอยู่ที่ 40-50 บาท 2 อย่าง 50 บาท อย่างเดียว 40 บาท อาหารตามสั่งก็ราคาเดิม
นายพิชิต วิไลอัญชลี ร้านชามเจ บอกว่า ราคาอาหารเจปีนี้ ไม่มีการปรับขึ้นถึงของจะแพงขึ้นมาแต่ทางร้านก็ยังคงราคาเดิม แกงถุงเริ่มต้นที่ 45 บาท ขนมก็ราคาเดิมเพราะทางร้านอยากให้ทุกคนรู้จักการกินเจให้อร่อย และมีความสุขได้บุญกุศล งดเว้นเนื้อสัตว์ ด้วย







คทาวุธ แช่ม

0817676385

ปทุมธานี ฝนตกหนักน้ำทะเลหนุน ชาวบ้านขนของก่อกำแพงเตรียมรับน้ำเหนือ

 


 วันที่ 2 ตุลาคม 2567 ที่ตลาดอิงน้ำ ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ชาวบ้านตลาดอิงน้ำเตรียมการรับมวลน้ำเหนือ เนื่องจากสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาปริมาณน้ำ 1,899 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปทุมธานี ระดับน้ำจะลงต่ำสุด เวลา 15.00 - 16.00 น. และจะขึ้นสูงสุดเวลา 21.00 น. อยู่ในเกณฑ์เฝ่าระวัง เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น
    บรรยากาศในพื้นที่มีฝนตกหนักฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง จังหวัดปทุมธานีจัดอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ฝนตกหนัก 35.1 ถึง 90.0 มม. ด้านกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี (กอปภ.จ.ปทุมธานี) ได้ประกาศ “เฝ้าระวัง” ขอให้ผู้ที่พักอาศัยอยู่นอกคันกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้น และยกของขึ้นที่สูง สำหรับประชาชนที่อาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มมีบางส่วนเก็บสิ่งของขึ้นที่สูงและบางส่วน ได้ก่อกำแพงกั้นน้ำและบางส่วนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการก่ออิฐป้องกันน้ำเข้าท่วมที่พักอาศัยไว้แล้ว
   นายศุภชัย พานิชเจริญชัย อายุ 65 ปี ร้านค้าตลาดอิงน้ำ กล่าวว่า กลางคืนประมาณ 3 ทุ่ม ผมเฝ้าระวังและจะเดินดูน้ำว่าน้ำขึ้นวันละเท่าไร ซึ่งน้ำจะขึ้นมากในเวลากลางคืน ขณะนี้พบว่าน้ำขึ้นคืนละนิ้ว 2 นิ้ว ไม่ได้ขึ้นทีละเยอะๆ นอกจากนี้ก็มีผู้ใหญ่บ้านเข้ามาสำรวจระดับน้ำบ้างเหมือนกัน ชาวบ้านก็เริ่มเตรียมพร้อมโดนการก่ออิฐบล็อกกั้นน้ำถ้าเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำเกิน 2,000 ก็หนักใจนะ ส่วนปลั๊กไฟฟ้าที่เคยย้ายไว้ตั้งแต่ปีก่อน เขาก็ยังไม่ย้ายลงมา บ้านริมแม่น้ำเขาก็รู้ และเตรียมความพร้อมไว้เลย ตอนนี้หน้าน้ำเขาก็จะทยอยเก็บสิ่งของกันแล้ว 
   นายสุรพงษ์ ลิขิตธนดำรง อายุ 70 ปี ร้านค้าของชำตลาดอิงน้ำ กล่าวว่า เท่าที่เฝ้าดูระดับน้ำพบว่าน้ำยังขึ้นมาแต่เห็นว่า เขื่อนเจ้าพระยา เริ่มจะปล่อยน้ำมาเยอะขึ้น หากน้ำทะเลไม่หนุน ฝนตกมาไม่เยอะคงไม่น่ากลัว ยซึ่งถ้าจะเก็บของต้องเก็บทีเดียว เพราะว่าของในร้านเยอะมาก ถ้าเราเก็บก่อนก็จะขายไม่ได้ ต้องทยอยเก็บบางส่วนเท่านั้น และเตรียมอิฐบล็อกปูนไว้ก่อนแล้วหากสถานการณ์ไม่ดีโดยมีของเก่าที่ยังไม่รื้อออกไปเป็นแนวป้องกันเบื้องต้น ทางเดินในตลอดนี้ยกพื้นขึ้นมาสูงจากเดิมมาก เวลานี้อีก 50 เซนติเมตรถึงจะท่วมถนนทางเดิน เท่าที่ติดตามข่าวพบว่าจะมีพายุเข้ามา 1 ลูก และเลยจากนี้จะมาอีกเท่าไร ฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยากให้ทยอยปล่อยน้ำมาเพื่อไม่ให้กระทบประชาชน โดยการจัดสรรน้ำให้แบ่งไปซ้ายขวาเพื่อให้มวลน้ำเบาลง ถ้าปล่อยน้ำมาเต็มๆ ประชาชนก็เดือดร้อนหนักแน่.



             สหรัฐ แก้วตา หน.ข่าว ปทุมธานี รายงาน

คนพิการกว่า400คน ปลื้มใจแห่รับเงินสดกระตุ้นเศรษฐกิจ

ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นายสุภวัฒน์ สมหารวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบ่อคำ พร้อมด้วยนางหยก วงษาจุ้ย และนางประสานสินธุ์ โมกมัน รอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล พร้อมเจ้าหน้าที่ได้จัดตั้งจุดบริการผู้พิการ ที่มิวสิครับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยแบ่งออกเป็นจุดรับเงินแต่ละหมู่บ้านเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ

   บริเวณด้านนอกของอาคารได้มีกางเต็นท์ไว้จนเต็มพื้นที่อันเนื่องจากพื้นที่ในตำบลนาบ่อคำมีประชากรผู้พิการจำนวนมาก และในวันนี้มีผู้พิการบางรายได้เดินทางมาแต่เช้ามืด ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาบ่อคำจึงได้มีการจัดเตรียมข้าวต้มและน้ำดื่มเพื่อรอบริการให้กับผู้ที่มารับเงินดังกล่าวอีกด้วย
นายสุภวัฒน์ สมหารวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบ่อคำ กล่าวว่า ในเขตพื้นที่ของตำบลนาบ่อคำ มีผู้พิการที่ได้รับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ทั้งหมดจำนวน 1040 คน เป็นผู้พิการรับเงินเข้าบัญชีธนาคาร จำนวน ๕๔๘ คนซึ่งได้รับเงินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี ๒๕๖๗ ผ่านคนพิการโดยโอนเงินผ่านระบบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนผู้พิการรับเงินสดที่เหลือวันนี้จำนวน ๔๙๒ คน จะได้รับจำนวน ๔๕๓ คน แต่มีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รับเงินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน ๓๙ คน เนื่องจากผู้พิการบัตรหมดอายุ ๑๓ คน และผู้พิการรับสิทธิบัตรสวัสติการแห่งรัฐจำนวน จำนวน ๒๖ คน
  ในความคิดถึงส่วนตนนั้น มองเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เงินได้ถึงมือประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และจากการออกติดตามผู้พิการในพื้นที่ที่ได้รับเงินผ่านบัญชีธนาคารส่วนใหญ่จะนำเงินดังกล่าวไปเป็นค่าจับจ่ายใช้สอยของชีวิตประจำวัน มากกว่าไปใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นเพราะส่วนใหญ่จะเป็นผู้พิการและสูงอายุ

นางภาค สุขเรือง อายุ 70ปี อยู่บ้านเลขที่ 107 หมู่3 บ้านแม่นารีนอก ตำบลนาบ่อคำ กล่าวว่า ปกติตนเองจะอาศัยอยู่บ้านตามลำพังคนเดียวลูกสองคนได้ออกไปทำงานนอกบ้านนานแล้ว คงมีแต่เงินเดือนผู้พิการรายเดือนกับการขายของเล็กๆน้อยๆในหมู่บ้านเลี้ยงปากเลี้ยงท้องไปวันๆ ต้องขอขอบคุณรัฐบาลกับเงินหมื่นที่ได้ รู้สึกดีใจมากที่ได้เงินครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกเราจะได้นำไว้ใช้จ่ายในการซื้อกับข้าวไว้รับประทาน

ด้านนายฉงน สอนเมือง อายุ 83 ปีอยู่บ้านเลขที่ 20 / สองหมู่ที่เจ็ดตำบลนาบ่อคำ มีอาชีพเก็บของเก่าขายกล่าวว่าตนเองอยู่ลำพังแต่ผู้เดียวไม่มีญาติพี่น้องที่ผ่านมามีทางอบต. ได้สร้างบ้านให้พักพิงเล็กๆหนึ่งหลัง เป็นครั้งแรกของชีวิตที่ได้รับเงินก้อนจำนวน 10,000 บาท ปกติเก็บของเก่าขายบางวันมีก็ได้เงิน บางวันก็ไม่มีรายได้ก็อยู่ไปวันๆ เงินที่ได้ในวันนี้ผมจะเก็บไว้เป็นค่ากับข้าวคิดว่าคงจะใช้ได้อีกหลายเดือนทีเดียวพร้อมขอบคุณรัฐบาลที่มีโครงการดีๆลงมาถึงประชาชนเช่นนี้



สุเทพ อินทจันทร์ กำแพงเพชร รายงาน