การปักดำนาของชาวอีสาน ซึ่งยังเป็นวิถีชีวิตของชาวนาอีสานมาเนิ่นนานกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การปักดำนาเหมือนในอดีตที่ต้องเริ่มจากไถกลบไถดะ(คลาด)เตรียมหว่านข้าวให้เป็นต้นกล้า เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตประมาณ 1 เดือน ชาวนาก็จะเริ่มถอนต้นกล้า มัดกล้า ปักดำนา ทำอย่างนี้ปีละครั้งสำหรับชาวนาอีสาน
วัฒนธรรมการลงแขกหรือการไปช่วยกันปักดำนา นับวันจะหาได้ยากยิ่ง ทุ่งนากำลังจะถูกละเลยปล่อยพื้นที่ให้เกิดความว่างเปล่าหรือเปลี่ยนเป็นไร่อ้อย อันเนื่องมาจากขาดแรงงาน ราคาข้าวตกต่ำ กรรมวิธีปักดำนาแบบโบราณ(ใช้ควายไถนาโดยใช้ควาย(กระบือ)ก็เปลี่ยนเป็นรถไถนาแทน/การหว่านกล้าถอนกล้า/ปักดำนา)ก็เปลี่ยนไปเป็นใช้รถไถ รถหยอด เครื่องหยอดข้าว หรือ หว่านข้าว)แทน
เมื่อวันที่(11 กค.68)ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปดูวิถีชีวิตการทำนาที่ยังคงแบบที่บรรพบุรุษเคยทำมาแบบเมินวิธีทำแบบนาหว่าน หรือนาหยอดที่นิยมทำกันในปัจจุบัน ไปกันที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงห้วยบักด้ง ชุมชนโคกโนนนา บ้านโคกล่าม ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่นี่มี 2 สามีภรรยา(นายเสงี่ยม – นางบัวศิลป์ แสนสมบัติ)อายุ 65 ปีโดยทั้ง 2 สามีภรรยายังคงใช้วิธีการทำนาตามแบบที่บรรพบุรุษเคยทำมาแบบที่ชาวนาส่วนใหญ่ทำกัน มาตลอดชีวิตสำหรับเหตุผลที่2 สามีภรรยา ยังคงทำนาตามที่พ่อแม่เคยทำมาในอดีต คำตอบคือผลผลิตการทำนาแบบปักดำ จะได้ผลผลิตดีกว่า เก็บเกี่ยวง่าย หญ้าในนาข้าวไม่เป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยว รวงข้าวให้ผลดี (หากชาวนาเริ่มจากการไถกลบ ไถดะไว้ประมาณ 2 อาทิตย์เพื่อให้หญ้าเน่า/ ในขณะเดียวกันก็ใช้พื้นที่นาแปลงหรือ 2 -3 แปลง เป็นการหว่านกล้า(คนอีสานเรียกว่า”ตกกล้า”) พอต้นกล้าเจริญเติบโต(1 เดือนกว่า) ชาวนาก็จะมีการถอนกล้า(ลกกล้า) เพื่อนำมัดกล้าเป็นมัดๆไปปักดำ
แต่ก่อนที่จะนำมัดกล้าไปปักดำ การรวมมัดกล้าเป็นฟ่อนๆจะนำมาหาบข้างละ 10-15 หาบจากอีกนาแปลงหนึ่งไปยังแปลงนาที่มีการไถดะพร้อมปักดำ ที่นั้นจะมีชาย-หญิงที่กำลังก้มๆเงยๆในการปักดำนาแบบที่พ่อแม่เคยทำมา(ปักดำเป็นแถวแนวมีความห่างใกล้เคียงกัน)
ที่นี่ทั้งนายเสงี่ยมและนางบัวศิลป์ แสนสมบัติ กล่าวว่า ถึงแม้นกาลเวลาจะเปลี่ยนไป แต่ที่นี่จะยังคงทำแบบเดิมๆที่พ่อแม่เคยทำมาเหมือนในอดีต จะขอยังคงวิธีการทำนาแบบนี้จนกว่าจะไม่มีเรี่ยวแรงแต่ถึงเรี่ยวแรงจะถดถอยตามกาล ก็จะยังคงอยู่ หากวัฒนธรรมประเพณีแบบพี่น้องช่วยกัน(ลงแขก)เปลี่ยนไป ก็จะยังใช้แบบนี้อยู่โดยการว่าจ้างวานกันนับตั้งแต่จ้างรถไถกลบ ไถดะ การหว่านกล้า การถอนกล้า การปักดำ จนไปถึงการเก็บเกี่ยวข้าวที่ออกรวงสุกเต็มที่พร้อมนำมาสีหรือนวดข้าวที่เคยทำ สุดท้ายอาหารเที่ยงที่นี่จะเป็นการรวมกันกินข้าวล้อมวง(ซุม)กัน อาหารอีสานที่ขาดไม่ได้คือ ส้มตำ จะเป็นอาหารจานเด็ดทุกมื้อสำหรับแรงงานชาวอีสาน ถึงแม้นว่าเจ้าภาพจะหาอาหารดีๆมาประกอบเป็นอาหารมื้อเที่ยงกัน
ว่ากันว่านาแปลงนี้ร่วม 20 ไร่ จะยังคงถือวิธีการทำนาแบบเดิม โดยไม่เปลี่ยนไปแน่นอน(การไถกลบ ไถดะ การหว่านกล้า การถอนกล้า การหาบกล้า การปักดำนา และสุดท้ายการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการสี/นวดข้าว) จะยังวิถีชีวิตแบบนี้ไปตลอด
สุภัชรกานต์ แก้วสิงห์ ขตว.หนองบัวลำภู
แสดงความคิดเห็น