วันที่ 28 เมษายน 2568 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้เปิดการประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินงานตามนโยบาย NCDs 1001 อำเภอขามโดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดร.ยลดาหวังศุภกิจโกศลนายก อบจ. เป็นประธาน ด้านนายแพทย์สุผล ตติยนันทพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เผผถึงการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา
ในครั้งนี้ เนื่องด้วยสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในประเทศไทย โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านจำนวนผู้ป่วย อัตราการเสียชีวิต และงบประมาณในการรักษาซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ และเศรษฐกิจของประเทศ การจัดการกับโรคเหล่านี้ ต้องบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนอย่างเป็นระบบ จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน กว่า 170,000 คน และความดันโลหิตสูงกว่า 300,000 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำงาน และผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง จังหวัดนครราชสีมา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงดำเนินการโครงการต่างๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในแนวทางสำคัญคือการผลักดัน “โรงเรียนเบาหวานในกระบวนทัศน์ใหม่ ขับเคลื่อนดำเนินงานผ่าน 5 เสาหลักคือ เสาที่ 1 การจัดตั้งโรงเรียนเบาหวานในชุมชนและวัด เสาที่ 2 การรับรู้ของครอบครัว เสาที่ 3
คลินิกเบาหวานหายได้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เสาที่ 4 คลินิกเบาหวานหายได้ในโรงพยาบาล และเสาหลักที่ 5 กลไกการขับเคลื่อนนโยบายผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โดยได้มีการจัดตั้งคลินิกเบาหวานหายได้ ในทุกโรงพยาบาล พร้อมขยายรูปแบบการดูแลผู้ป่วยสู่ชุมชนอย่างเป็นระบบ ผ่านโรงเรียนเบาหวานในชุมชน ซึ่งมี ผลลัพธ์ที่ชัดเจน คือ จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนโรงเรียนเบาหวานวิทยา จำนวน 284 แห่ง มีจำนวนนักเรียนโรงเรียนเบาหวานวิทยา จำนวน 10,739 คน จำนวนผู้ป่วยหยุดยา 385 คน มีจำนวนผู้ป่วยที่สามารถเข้าสู่ระยะสงบของโรคเบาหวาน (Diabetes Remission) ตามเกณฑ์ทั้งหมด 778 คน และมูลค่าในการปรับลดยา ทำให้ประหยัดเงินไปได้มากถึง 21,939,6000 บาท
ทางด้าน นายแพทย์สามารถ ถิระศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เล็งเห็นถึงความสำคัญการนำหลักสูตรโรงเรียนเบาหวานวิทยามาประยุกต์ ใช้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย จึงกำหนดให้มีการ Kick off การดำเนินงานตาม นโยบาย NCDs 1001 (อ่านว่า หนึ่งศูนย์ศูนย์หนึ่ง) โดยมีที่มาจาก 100 คือคนโคราชห่างไกลโรค NCDs 100% และ 1 คือ ดำเนินการภายใน 1 ปี ณ อำเภอขามสะแกแสง โดยผสมผสานการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แบบนับคาร์บ ลดแป้ง ลดนํ้าตาล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้แก่ประชาชนคนโคราช ภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการคนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ใน 8 setting ได้แก่ 1) Setting โรงเรียน 2) Setting วัด 3) Setting สถานประกอบการ 4) Setting หมู่บ้าน/ชุมชน 5) Setting หน่วยงานราชการ 6) Setting หน่วยบริการสาธารณสุข 7) Setting เรือนจำ และ 8) Setting สถานประกอบการ (ร้านค้าจำหน่ายอาหาร) ขึ้น เพื่อลดกลุ่มเสี่ยงสร้างเสริมสุขภาพแก่กลุ่มป่วย ให้กลับเป็นประชาชนคนโคราชที่มีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
แสดงความคิดเห็น