รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธรอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
มอบนโยบายการพัฒนา มหาวิทยาลัย
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2568
ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 7 จุดเน้น
1. จุดเน้น ด้าน Agriculture and Food Security รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตสุรินทร์
2. จุดเน้นด้าน ระบบราง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการฯ, รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น
3. จุดเน้นด้าน อากาศยาน รองอธิการฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรมและบริการวิชาการ
4. จุดเน้นด้าน EV (Electric Vehicle)/SE(Sustainable Energy) รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน
5. จุดเน้นด้าน Health & Wellness รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตสกลนคร
6. จุดเน้นด้าน Tourism and Sport รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
7. จุดเน้นด้านDE รองอธิการบดีฝ่าย ฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล สารสนเทศ และกิจการสภามหาวิทยาลัย
Agriculture and Food Security รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตสุรินทร์ เป็นผู้บริหารที่กำกับดูแลแทนอธิการบดี คณบดีคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธาน/รองประธาน
การสร้างความเป็นเลิศ และพัฒนากำลังคนด้าน Agriculture and food Security ที่มีมาตรฐานและได้รับมาตรฐานสากล การพัฒนาด้านกำลังคนเพื่อตอบสนองภาคอุตสาหกรรมด้าน Agriculture and food Security พื้นที่และขอบเขตในการดำเนินงาน ประกอบด้วย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ (คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคอีสาน (คณะนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตร)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคอีสาน วิทยาเขตสกลนคร (คณะทรัพยากรธรรมชาติ)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขต ณ ทุ่งกุลาร้องไห้
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างขีดความสามารถทางด้านเกษตรและอาหารปลอดภัย
2) เพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในท้องถิ่นและแปรรูปเพื่อกระจายสินค้า
3) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีเงินลงทุนน้อยในการผลิตสินค้า
4) เพื่อเป็น hub ของ matching fund ระหว่างเกษตรกร นักลงทุนและผู้ประกอบการภายในจังหวัดและใกล้เคียง
4) เพื่อจัดตั้งหน่วยความเป็นเลิศด้านการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG และ ธนาคารบาร์บอน
5) เพื่อจัดตั้งหน่วยความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการผลิตสัตว์ พืช และชีวภาพ
6) เพื่อจัดตั้งหน่วยความเป็นเลิศด้านเส้นใย และหัตถกรรม
โครงการสำคัญภายใต้คลัทเตอร์ Agriculture and Food Security
1. โครงการศูนย์ทดสอบทางวิทยาศาสตร์ (มาตรฐาน ISO-17025)
2. โครงการศูนย์ทดสอบดินและปุ๋ย (มาตรฐาน ISO-17065)
3. โครงการศูนย์แปรรูปสมุนไพร (มาตรฐาน ISO 17025)
คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มีข้อมูลพื้นฐานด้านบุคลากร ด้านครุภัณฑ์ ด้านสิ่งปลูกสร้าง โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวข้องที่เคยได้รับการอนุมัติงบประมาณ ที่พร้อมสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ เพื่อขับเคลื่อนจุดเน้น (Cluster) Agriculture and Food Security
นโยบายเกษตรอินทรีย์
จังหวัดสุรินทร์มีนโยบายส่งเสริมเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเป็น“เมืองเกษตรอินทรีย์ ศูนย์เศรษฐกิจชายแดน ท่องเที่ยววิถีสุรินทร์ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี”โดยเน้นการพัฒนาและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มรายได้และมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ ยกระดับมาตรฐานสินค้า และขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานที่ผ่านมาเผชิญกับปัญหา เช่น การขาดการรวมกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ต้นทุนการผลิตสูงจากการใช้สารเคมี และจำนวนเกษตรกรรุ่นใหม่ลดลง เนื่องจากสังคมผู้สูงอายุและการย้ายถิ่นฐานไปประกอบอาชีพอื่น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จังหวัดสุรินทร์ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ดำเนินโครงการ "สุรินทร์รุ่งเรือง สู่เมืองเกษตรอินทรีย์" มุ่งพัฒนาคุณภาพการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิต และส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินนโยบายด้านเกษตรอินทรีย์นั้น สอดคล้องทั้งจุดเน้นการพัฒนาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและประเด็นการพัฒนาของจังหวัดสุรินทร์
ประเด็นการพัฒนาของจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 5 ประเด็น
1. การพัฒนาและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจรและยั่งยืน
2. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการค้า การลงทุน การบริการ และเชื่อมโยงเศรษฐกิจชายแดน
3. การพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยววิถีสุรินทร์
4. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
5. การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและความมั่นคงปลอดภัย
นโยบายท่องเที่ยว
ยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนอีสานเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนภายใต้ BCG model
ยกระดับการกีฬาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
กลยุทธ์ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน กลยุทธ์พัฒนาระบบเพื่อรองรับอุตสาหกรรมกีฬา ท่องเที่ยว การบริการและไมซ์
• จัดตั้งศูนย์บริการวิชาการการท่องเที่ยวและกีฬาแห่ง มทร.อีสาน
• ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมและการท่องเที่ยวการบริการและไมซ์
• ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ
• ศูนย์ออกกําลังกายครบวงจร
• ปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการมาตรฐาน
• พัฒนาแพลตฟอร์มและระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการกีฬา ท่องเที่ยว การบริการและไมซ์
• การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการรับรองมาตรฐานการกีฬา/ด้านการท่องเที่ยว บริการและไมซ์ระดับชาติและนานาชาติ
• ศูนย์บริการด้านภาษาต่างประเทศสําหรับสถานประกอบการการท่องเที่ยวและกีฬา
ทั้งนี้ จุดเน้น Tourism and Sport ของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาจังหวดสุรินทร์ การพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยววิถีสุรินทร์
“นโยบาย ภาพใหญ่ EV เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายชาติ - อว - มทร.อีสาน”
มทร.อีสาน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ตอบรับนโยบายชาติ
ในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)
ขับเคลื่อนตามนโยบาย 30@30 ของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่ สำคัญของโลก
นโยบาย อว. For EV ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
RMUTI for EV โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตอบรับการขับเคลื่อน นโยบายชาติผ่านการขับเคลื่อนจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ด้าน EV เพื่อเร่งดำเนินการ พัฒนากำลังคนให้มีความเชี่ยวชาญด้าน EV สู่เป้าหมายผลักดันประเทศไทยสู่ EV HUB ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผ่านความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในและ ต่างประเทศอย่างเข้มแข็ง ด้วยภารกิจแผนงานสำคัญ 3 ด้าน ดังนี้
1. EV-HRD : การพัฒนาทักษะกำลังคนด้านยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อผลิตกำลังคนให้ เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีจุดเริ่มต้น เป็นรูปธรรมจากสถาบันยานยนต์ไฟฟ้า โดย RMUTI – CHELOVE EV TRAINING CENTER และ ศูนย์ EV วข.ขอนแก่น แห่งนี้
2. EV-Transformation : การปรับเปลี่ยนการใช้รถยนต์ระบบสันดาปภายใน (ICE) มาเป็น EV ใน มทร.อีสาน ภายในปี 2030
3. EV-Innovation : การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าภายใน มทร.อีสาน เชื่อมภาคีเครือข่ายทั้ง ในและต่างประเทศ
จากความพร้อมและยุทธศาสตร์อันโดดเด่นด้านยานยนต์ไฟฟ้า ของ มทร.อีสาน จึงนับเป็น จุดเริ่มต้นที่สำคัญในการแสดงให้เห็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยฯ ในการขับเคลื่อนนโยบาย อว. For EV และอุตสาหกรรม EV ของประเทศ ซึ่งผมมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า มทร.อีสาน จะเป็นต้นแบบ ในการผลักดันศักยภาพของประเทศไทยในฐานะฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก และ พัฒนาพัฒนาอุตสาหกรรม EV ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น EV HUB ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ในอนาคต
อัศววัฒน์ พัฒน์ทองกนก News24 จ.สุรินทร์ รายงาน
แสดงความคิดเห็น