นายสมศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลมึนโยบายสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนทุกมิติ ทั้งการคัดกรอง ป้องกัน ค้นหา และการดูแลรักษา ยกระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญของประชาชน อาทิ โรคอ้วนที่พบมากขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรัง พบผู้ป่วยระยะที่ 3 ถึง 506,593 ราย ในปี 2567 พบอัตราตายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ร้อยละ 9.01 ส่วนโรคหลอดเลือดสมอง ในปี 25666 มีผู้ป่วยถึง 349,126 ราย เสียชีวิต 36,214 ราย ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานทั่วประเทศกว่า 3.6 ล้านราย ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกช้อนทางตาเพียง 1.7 ล้านราย หรือร้อยละ 47 และยังมีผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดี การมองเห็นไม่ชัดเจน และเกิดภาวะสายตาเลือนรางสูงถึงร้อยละ 70 รวมถึงโรคมะเร็งปากมดลูก ที่พบเป็นอันดับ 5 ในเพศหญิง เป็นต้น
นายสมศักดิ์กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดโครงการบริการทุกช่วงวัย ด้วยความห่วงใยจากกระทรวงสาธารณสุขฯ
ให้บริการทางการแพทย์และการตรวจสุขภาพเชิงรุกครอบคลุมทุกช่วงวัย ทั้งการดูแลผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน, การจัดการโรค NCDs เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง, การดูแลไตตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การรักษาในคลินิกชะลอไตเสื่อม, การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การใช้ AI ตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน, การคัดกรองและป้องกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก และฉีดวัดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง รวมถึงการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น การมอบเครื่องช่วยฟังให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน โดยมี อสม. เป็นกำลังสำคัญในการในการขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างไกล NCDs เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและถ่ายทอดความรู้ไปสู่ประชาชน โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม จนสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 กันยายน 2568 ตั้งเป้าว่าจะมีประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์รวม 38,203,000 คน ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2568 คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 22,873,265,0000 บาทนายประยงค์ วิลัย /ภาพข่าว
แสดงความคิดเห็น