นายประกาศิต สาณะเสน นายอำเภอวังม่วง กล่าวว่า โครงการเกษตรไร่อ้อยชีวภาพแบบยั่งยืน อำเภอวังม่วงตามแนวทาง SARABURI SANDBOX เกษตรคาร์บอนต่ำ สืบเนื่องจากกิจกรรมการขับเคลื่อนสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ "ชาววังม่วงร่วมใจ งดเผาอ้อย รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำ" เมื่อวันที่ 23 มกราคม2568 ได้สร้างกระแสกับทุกภาคส่วน ให้ความร่วมมือ ในการงดเผาไร่อ้อย ซึ่งทำให้ปริมาณอ้อยเผาในพื้นที่จังหวัดสระบุรี เข้าสู่โรงงานน้ำตาลสระบุรี เพียง 3 เปอร์เซ็นต์จากค่ามาตรฐานที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดไว้ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อเป็นการต่อยอดโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ อำเภอวังม่วง ร่วมกับ บริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัดและสมาคมชาวไร่อ้อยเขื่อนป่าสักสระบุรี ได้ร่วมกันกันกำหนดโมเดลเกษตรไร่อ้อยชีวภาพแบบยั่งยืน อำเภอวังม่วง ตามแนวทาง SARABURI SANDBOX เกษตรคาร์บอนต่ำ ลด 3 เพิ่ม 1 ดังนี้ ลดที่ 1 ลดการเผาก่อนเก็บเกี่ยว เน้นการตัดอ้อยสด และลดการเผาหลังการเก็บเกี่ยว เน้นส่งเสริมการกำจัดใบอ้อยด้วยกระบวนการกำจัดทางชีวภาพแบบยั่งยืน ลดที่ 2 ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เน้นการใช้กระบวนการจุรินทรีย์
การไถสับหมกซากใบอ้อยเพื่อเกิดกระบวนการย่อยซากอ้อยหลังเก็บเกี่ยว ลดที่ 3 ลดยากำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลง โดยใช้ใบอ้อยปกคลุมดินเพื่อป้องกันวัชพืชและส่งเสริมการใช้แมลงหางหนีบเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช และ เพิ่ม 1 คือ เพิ่มแหล่งน้ำทางการเกษตร เพื่อสนับสนุนโมดลเกษตรไร้อ้อยชีวภาพอย่างยั่งยืนลดภาวะปัญหาภัยแล้งและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยให้เกษตรกรรายย่อยจัดทำคำขอรับการสนับสนุนระบบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ ยังมีแนวทางให้เกษตรกรรายย่อย รวมกลุ่มเพื่อขอรับการสนับสนุนเครื่องจักรกลจากบริษัท น้ำตาล สระบุรี จำกัด และสมาคมชาวไร่อ้อยเขื่อนป่าสักสระบุรี
อำเภอวังม่วงจึงได้ร่วมกับบริษัท น้ำตาล สระบุรี จำกัด และสมาคมชาวไร่อ้อยเขื่อนป่าสักสระบุรี จัดโครงการอบรมและสาธิต เรื่องการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวอ้อยอย่างถูกวิธี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเกษตรกร ให้มีความรู้ด้านการผลิตอ้อยโรงงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสนับสนุนการใช้วิธีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทางเลือกที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และการพัฒนาแหล่งน้ำทางการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิด กลุ่มเป้าหมายอบรมได้แก่ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อยเขื่อนป่าสักสระบุรี และพนักงานฝ่ายจัดการวัตถุดิบ รวมจำนวน 300คน
นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้กล่าวว่าSARABURI SANDBOX เป็นโครงการที่จังหวัดสระบุรีให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นพื้นที่นำร่องสำหรับการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การปลูกอ้อย เป็นอาชีพหลักของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอวังม่วง ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผ่านมามีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเผาอ้อย ซึ่งส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จึงมีความจำต้องหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม และสร้างความเข้าใจในวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบ ดังนั้น การลดสารกำจัดพืชและยาฆ่าแมลง ลดการใช้ปุยเคมี ลดการเผาก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวอ้อย
ไม่เพียงแต่เป็นการลดมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสิ่งงแวดล้อม แต่ยังเป็นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร กับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยวอ้อยแบบไม่ต้องเผา รวมถึงการบำรุงดินและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากช่วยลดการเผาอ้อยที่เป็นสาเหตุสำคัญของมลพิษทางอากาศ ยังสามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรได้ ในนามของจังหวัดสระบุรี ขอขอบทุกท่าน ที่ตอบสนองนโยบายตามแนวทาง SARABURI SANDBOX นอกจากพวกเราจะช่วยกันสร้างเมืองอากาศบริสุทธิ์แล้วยังเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้นในจังหวัดสระบุรี ซึ่งจะส่งผลที่ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
#SARABURI SANDBOX
#Saraburi Low Carbon City
#คุณภาพชีวิตดีคนสระบุรี
ไม่ทอดทิ้งกัน
สมพงษ์ ปานรุ่ง รายงาน สระบุรี
แสดงความคิดเห็น