Home กรุงเทพฯ "คมนาคม" ขานรับข้อสั่งการ “นายกฯ“ ลุยพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) 2.3 พันไร่ หวังใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผุด Smart Port ยกระดับเมือง พร้อมสั่งการ “การท่าเรือฯ” ศึกษาแผนให้เหมาะสม คาดได้ข้อสรุปภายใน 1 ปี พร้อมตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ชุด ถกวางแผนแนวทางการพัฒนา ด้าน "จุลพันธ์" ย้ำชัด! การพัฒนาท่าเรือคลองเตย ไม่เกี่ยวข้องกับ "เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์"
By NEWS24 สถานีประชาชน • ตุลาคม 16, 2567 • กรุงเทพฯ • Comments : 0
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานฯ วันนี้ (15 ต.ค. 2567) กล่าวว่า ตามที่นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) เพื่อใช้ประโยชน์ท่าเรือกรุงเทพ จำนวน 2,353.2 ไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการประชุมในวันนี้ ถือเป็นนัดแรก และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี โดยได้มีการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินการ และภารกิจต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันมากที่สุด โดยจะมีการนำแผนเดิมที่การท่าเรือศึกษาไว้ มาทบทวนอีกครั้งด้วย
สำหรับข้อเรียกร้องในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัดย่านคลองเตย จำนวน 26ชุมชนนั้น ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประเด็น ได้แก่ 1.ให้มีการแบ่งปันที่เดิน 20% ของที่ดินการท่าเรือฯ หรือกว่า 500 ไร่ โดยในปัจจุบัน กทท. ได้แบ่งพื้นที่สำหรับชุมชนไว้แล้วประมาณ 270 ไร่ แต่ยังต้องศึกษาถึงรายละเอียดต่างๆเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นก่อนที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาต่อไปและ 2.ขอให้กระทรวงคมนาคม แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยมีสัดส่วนจากชุมชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งในส่วนนี้ได้ดำเนินการแล้ว และสัดส่วนในการจัดตั้งคณะทำงานนั้นมีความเหมาะสม เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
นางมนพร กล่าวต่อว่า ในส่วนของแผนที่จะพัฒนาท่าเรือกรุงเทพนั้น จะออกมาในรูปแบบของ Smart Port (ท่าเรืออัจฉริยะ เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือทางบก (Dry Port), โครงการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษ สายบางนา-อาจณรงค์ (S1), โครงการพัฒนาท่าเรือฝั่งตะวันตกเป็นท่าเรือกึ่งอัตโนมัติ, โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าท่าเรือกรุงเทพ และศูนย์การเชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อเป็น Smart Community เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามทุกการพัฒนานั้น ยังคงต้องศึกษารายละเอียดอย่างชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการในแผน ซึ่งคาดว่า จะได้ข้อสรุป และมีความชัดเจนในอีกประมาณ 1 ปีนับจากนี้
ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จัดตั้งงบประมาณ เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษา ดำเนินการพิจารณารายละเอียด พร้อมทั้งทบทวนแนวทางแบะแผนการการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) รวมถึงแนวทางการรื้อย้ายและเยียวยาให้กับชุมชนคลองเตยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันให้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการจราจรสิ่งและสิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพอย่างยั่งยืน และให้ทำความเข้าใจถึงการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบและการประชาสัมพันธ์
ด้านนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยืนยันว่า สำหรับการประชุมคณะกรรมการฯ ในครั้งนี้ ไม่ได้มีการพิจารณาพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ให้เป็น "เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์" ซึ่งไม่ใช่เรื่องเดียวกัน และยังไม่ได้กำหนดพื้นที่ เนื่องจาก ยังคงต้องใช้เวลาศึกษาอีกระยะหนึ่ง หรือประมาณ 1-2 ปี จนกว่ากฎหมายจะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม หากมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งต่อไป
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คณะ เพื่อให้การดำเนินการได้มารตรฐานในทุกด้าน ประกอบไปด้วย ตัวแทนกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้ที่อยู่ในชุมชน ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ และจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ โดยมีนางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานอนุกรรมการ 2.คณะอนุกรรมการพิจารณาพัฒนาศักยภาพพื้นที่บริเวณชุมชนคลองเตย ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในปัจจุบัน โดยมีนายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานอนุกรรมการ 3.คณะอนุกรรมการจัดระเบียบด้านการจราจรและสิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) อย่างยั่งยืน โดยมี นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เป็นประธานอนุกรรมการ และ 4.คณะอนุกรรมการด้านการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในท่าเรือกรุงเทพและการประชาสัมพันธ์ โดยมีนายกฤชนนท์ อัยยปัญญา โฆษกกระทรวงคมนาคม เป็นประธานอนุกรรมการ อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 4 คณะนั้น จะไปศึกษาในด้านต่างๆ เพื่อมาปรับปรุงแก้ไขให้เกิดประโยชน์ และจะนำข้อสรุปต่างๆ มาเสนอต่อคณะกรรมการชุดใหญ่เพื่อพิจารณาต่อไป
สำหรับข้อเรียกร้องในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัดย่านคลองเตย จำนวน 26ชุมชนนั้น ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประเด็น ได้แก่ 1.ให้มีการแบ่งปันที่เดิน 20% ของที่ดินการท่าเรือฯ หรือกว่า 500 ไร่ โดยในปัจจุบัน กทท. ได้แบ่งพื้นที่สำหรับชุมชนไว้แล้วประมาณ 270 ไร่ แต่ยังต้องศึกษาถึงรายละเอียดต่างๆเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นก่อนที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาต่อไปและ 2.ขอให้กระทรวงคมนาคม แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยมีสัดส่วนจากชุมชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งในส่วนนี้ได้ดำเนินการแล้ว และสัดส่วนในการจัดตั้งคณะทำงานนั้นมีความเหมาะสม เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
นางมนพร กล่าวต่อว่า ในส่วนของแผนที่จะพัฒนาท่าเรือกรุงเทพนั้น จะออกมาในรูปแบบของ Smart Port (ท่าเรืออัจฉริยะ เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือทางบก (Dry Port), โครงการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษ สายบางนา-อาจณรงค์ (S1), โครงการพัฒนาท่าเรือฝั่งตะวันตกเป็นท่าเรือกึ่งอัตโนมัติ, โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าท่าเรือกรุงเทพ และศูนย์การเชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อเป็น Smart Community เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามทุกการพัฒนานั้น ยังคงต้องศึกษารายละเอียดอย่างชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการในแผน ซึ่งคาดว่า จะได้ข้อสรุป และมีความชัดเจนในอีกประมาณ 1 ปีนับจากนี้
ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จัดตั้งงบประมาณ เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษา ดำเนินการพิจารณารายละเอียด พร้อมทั้งทบทวนแนวทางแบะแผนการการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) รวมถึงแนวทางการรื้อย้ายและเยียวยาให้กับชุมชนคลองเตยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันให้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการจราจรสิ่งและสิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพอย่างยั่งยืน และให้ทำความเข้าใจถึงการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบและการประชาสัมพันธ์
ด้านนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยืนยันว่า สำหรับการประชุมคณะกรรมการฯ ในครั้งนี้ ไม่ได้มีการพิจารณาพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ให้เป็น "เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์" ซึ่งไม่ใช่เรื่องเดียวกัน และยังไม่ได้กำหนดพื้นที่ เนื่องจาก ยังคงต้องใช้เวลาศึกษาอีกระยะหนึ่ง หรือประมาณ 1-2 ปี จนกว่ากฎหมายจะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม หากมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งต่อไป
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คณะ เพื่อให้การดำเนินการได้มารตรฐานในทุกด้าน ประกอบไปด้วย ตัวแทนกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้ที่อยู่ในชุมชน ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ และจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ โดยมีนางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานอนุกรรมการ 2.คณะอนุกรรมการพิจารณาพัฒนาศักยภาพพื้นที่บริเวณชุมชนคลองเตย ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในปัจจุบัน โดยมีนายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานอนุกรรมการ 3.คณะอนุกรรมการจัดระเบียบด้านการจราจรและสิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) อย่างยั่งยืน โดยมี นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เป็นประธานอนุกรรมการ และ 4.คณะอนุกรรมการด้านการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในท่าเรือกรุงเทพและการประชาสัมพันธ์ โดยมีนายกฤชนนท์ อัยยปัญญา โฆษกกระทรวงคมนาคม เป็นประธานอนุกรรมการ อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 4 คณะนั้น จะไปศึกษาในด้านต่างๆ เพื่อมาปรับปรุงแก้ไขให้เกิดประโยชน์ และจะนำข้อสรุปต่างๆ มาเสนอต่อคณะกรรมการชุดใหญ่เพื่อพิจารณาต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น
(
Atom
)
แสดงความคิดเห็น