Top News/ข่าวยอดนิยม

Recent News/ข่าวล่าสุด

สถาบันการพัฒนาชุมชน เดินหน้าลงพื้นที่ ถอดบทเรียนความสำเร็จและติดตามการขับเคลื่อนโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ณ พื้นที่จังหวัดชุมพร

สถาบันการพัฒนาชุมชน เดินหน้าลงพื้นที่ ถอดบทเรียนความสำเร็จและติดตามการขับเคลื่อนโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ณ พื้นที่จังหวัดชุมพร

วันที่ 30 เมษายน 2568 เวลา 09.00 น. ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร นายสมาน พั่วโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้ นายอำนาจ สุดสวาท ผู้อำนวยการกลุ่มงานจัดการความรู้ พร้อมด้วยคณะทำงานถอดบทเรียนความสำเร็จและติดตามการขับเคลื่อนโครงการผูันำการเปลี่ยนแปลง ลงพื้นที่ถอดบทเรียนฯ

โดยมี นางสาวประดับ ชูดำ พัฒนาการจังหวัดชุมพร นางกานติกานต์ บัวเนียม ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน นายธวัช อุนิลบล ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางกรณิศ เชาชี ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางสาวชลาภรณ์ ผิวเผือก ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนักวิชาการพัฒนาชุมชนผู้ประสานงานตำบลเป้าหมาย เข้าร่วมฯ เพื่อติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานของทีม ครู ข และติดตามการดำเนินงานตามหลักสูตรการอบรมของวิทยาลัยการพัฒนาชุมชน จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรเสริมสมรรถนะผู้อำนวยการกลุ่มงาน 2) หลักสูตรเสริมสมรรถนะพัฒนากรระหว่างประจำการ และ3) หลักสูตรพัฒนากรก่อนประจำการ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรต่อไป

จากนั้น คณะทำงานถอดบทเรียนฯ ร่วมกับทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดระนอง ทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสวี ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนงานโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ พร้อมทั้งหลักสูตรอบรมฯ ของอำเภอสวี และติดตามงานในพื้นที่ชุมชนตำบลครน โดยมี ทีมพัฒนากรประจำอำเภอ และนายนพดล ชอบตรง กำนันตำบลครน พร้อมด้วยผู้แทนทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับตำบล (ครู ข) ร่วมให้ข้อมูลเพื่อถอดบทเรียนและติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานของทีม ครู ข และภาคีเครือข่าย 7 ภาคี (ครู ข ขยายผล) ในพื้นที่ตำบลครน รวมทั้งได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นของโครงการต่างๆ ที่จะนำมาขับเคลื่อนในพื้นที่ พร้อมทั้งสอบถามปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ รวมทั้งกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจทีมงาน ครู ข และ ครู ข ขยายผล ร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนงานในพื้นที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป

ภาพ /ข่าว : สถาบันการพัฒนาชุมชน

ทีมข่าวNEWS24:รายงาน

เชียงรายเปิด “กาดปันสุข” ครั้งที่ 12ตลาดแห่งแรกของการให้และการแบ่งปัน โดยไม่ใช้เงินในการซื้อขาย

จังหวัดเชียงราย – “กาดปันสุข” ตลาดรูปแบบใหม่ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วประเทศ ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นแห่งแรกที่จังหวัดเชียงราย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการแบ่งปัน ความเอื้อเฟื้อ และความสัมพันธ์ในชุมชน ผ่านการนำของใช้แล้วหรือของใหม่ มา “แบ่ง”, “แจก”, และ “แลก” กันอย่างเสรี โดยไม่ใช้เงินเป็นตัวกลางในการซื้อขาย

กาดปันสุข เป็นพื้นที่ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปนำของที่ยังใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หนังสือ ของเล่น เครื่องครัว หรือผลผลิตจากสวน มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น หรือมอบให้ฟรีแก่ผู้ที่ต้องการของเหล่านั้นจริง ๆ ถือเป็นรูปแบบตลาดที่เน้น “น้ำใจ” มากกว่า “มูลค่า” และสนับสนุนแนวคิด “ลดขยะ เพิ่มคุณค่า” ในวิถีชีวิตอย่างยั่งยืน

นอกจากการแลกเปลี่ยนของ กาดปันสุขยังเป็นพื้นที่พบปะของผู้คนต่างวัยต่างอาชีพ ที่มาร่วมแบ่งปันเรื่องราว น้ำใจ และรอยยิ้ม โดยกิจกรรมจะจัดเป็นระยะ ๆ ในพื้นที่ชุมชนหมุนเวียนทั่วจังหวัดเชียงราย สร้างโอกาสให้แต่ละพื้นที่ได้เรียนรู้ และเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง

ผู้จัดกิจกรรมกล่าวว่า จุดเริ่มต้นของกาดปันสุข มาจากแนวคิดง่าย ๆ ว่า  

**“สิ่งของที่ไม่จำเป็นสำหรับบางคน อาจเป็นสิ่งจำเป็นของใครอีกคน”**  

การเปิดพื้นที่แบบนี้ จึงไม่เพียงช่วยลดการใช้ทรัพยากรเกินจำเป็น แต่ยังช่วยปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างมีเมตตาและยั่งยืน

**กาดปันสุข จังหวัดเชียงราย ไม่ใช่แค่ตลาด แต่คือบทเรียนของการอยู่ร่วมกัน ในวันที่ผู้คนต้องการความหวัง และความอบอุ่นทางใจ มากกว่าสิ่งของ**

---

📍**สถานที่จัดกิจกรรม:** บริเวณโดมอเนกประสงค์หน้าวัดเชตุพน (ชุมชนสันโค้งน้อย) ข้างเวทีรำวงถนนคนม่วน  

🕥 **วันและเวลา:** สามารถติดตามสอบถามการจัดกิจกรรมเวลา 📞 **สอบถามเพิ่มเติม:** โทร. 086-4760189

---

#กาดปันสุข  

#ตลาดแบ่งปันเชียงราย  

#ไม่ต้องใช้เงินก็สุขได้  

#แบ่งปันคือพลัง  

#เชียงรายเมืองแห่งน้ำใจ  

#ตลาดแห่งความสุข  

#ของไม่ใช้แล้วแต่ยังมีค่า  

#CommunitySharing  

#ลดใช้เพิ่มใจ  

#ให้คือได้  

...ชาติณรงค์ ปัญญาฟู

จังหวัด เชียงราย..





จุฬาราชมนตรี เป็นประธานเปิดการสอบคัดเลือกผู้รับทุนการศึกษามหาวิทยาลัยอัลอัชฮัร สาขาอิสลามศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568 และ 2569 "

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ.2568 เวลา 09.00 น. นายอรุณ บุญชม (จุฬาราชมนตรี) เป็นประธานในการกล่าวพิธีเปิดการสอบคัดเลือกผู้รับทุนการศึกษามหาวิทยาลัยอัลอัชฮัร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ สาขาอิสลามศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568 และ 2569 พร้อมด้วย ผู้แทนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ประจำประเทศไทย , นายประสาน ศรีเจริญ (ประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี) , นายประสาร บุญส่ง (รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย) , นายมาโนช สมมนัส (รองเลขานุการจุฬาราชมนตรี) , นายปรีดา เชื้อผู้ดี (ที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี /นายก อบต.ท่าอิฐ) , นายอิมรอน เสมสายัณห์ (ผู้อำนวยการ รร.ท่าอิฐศึกษา) , ผู้บริหาร รร.ท่าอิฐศึกษา , คณะครู รร.ท่าอิฐศึกษา และนักเรียนผู้ร่วมการสอบคัดเลือกฯ เข้าร่วมในพิธีเปิด โดยมี คณะผู้บริหาร อบต.ท่าอิฐ , หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และพนักงาน อบต.ท่าอิฐ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม อาคาร 50 ปี โรงเรียนท่าอิฐศึกษา ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ด้วยสำนักจุฬาราชมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จัดการสอบคัดเลือกผู้รับทุนการศึกษามหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร กรุงไคโร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ สาขาอิสลามศึกษา ประจำปี 2568 และ 2569 ประกอบไปด้วย ทุนการศึกษาสาขาอิสลามศึกษา จำนวน 80 ทุน และทุนการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และทฤษฎี จำนวน 80 ทุน รวม 160 ทุน โดยการสอบระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ ศูนย์สอบประจำภาคกลาง โรงเรียนท่าอิฐศึกษา จังหวัดนนทบุรี และศูนย์สอบประจำภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จังหวัดยะลา









 

Kick off โคราช NCDs 1001 และ คนโคราชห่างไกล NCDs จังหวัดนครราชสีมา

วันที่ 28 เมษายน 2568  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้เปิดการประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินงานตามนโยบาย NCDs 1001 อำเภอขามโดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดร.ยลดาหวังศุภกิจโกศลนายก อบจ.   เป็นประธาน   ด้านนายแพทย์สุผล ตติยนันทพร  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เผผถึงการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา

ในครั้งนี้  เนื่องด้วยสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในประเทศไทย โดยเฉพาะโรคเบาหวาน  และความดันโลหิตสูง  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านจำนวนผู้ป่วย อัตราการเสียชีวิต  และงบประมาณในการรักษาซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ และเศรษฐกิจของประเทศ การจัดการกับโรคเหล่านี้ ต้องบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนอย่างเป็นระบบ จังหวัดนครราชสีมา  มีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน กว่า 170,000  คน  และความดันโลหิตสูงกว่า 300,000 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำงาน และผู้สูงอายุ  เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง จังหวัดนครราชสีมา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงดำเนินการโครงการต่างๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในแนวทางสำคัญคือการผลักดัน “โรงเรียนเบาหวานในกระบวนทัศน์ใหม่ ขับเคลื่อนดำเนินงานผ่าน 5 เสาหลักคือ เสาที่ 1 การจัดตั้งโรงเรียนเบาหวานในชุมชนและวัด  เสาที่ 2 การรับรู้ของครอบครัว  เสาที่ 3

คลินิกเบาหวานหายได้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  เสาที่ 4 คลินิกเบาหวานหายได้ในโรงพยาบาล  และเสาหลักที่ 5 กลไกการขับเคลื่อนนโยบายผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โดยได้มีการจัดตั้งคลินิกเบาหวานหายได้ ในทุกโรงพยาบาล พร้อมขยายรูปแบบการดูแลผู้ป่วยสู่ชุมชนอย่างเป็นระบบ ผ่านโรงเรียนเบาหวานในชุมชน ซึ่งมี ผลลัพธ์ที่ชัดเจน คือ จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนโรงเรียนเบาหวานวิทยา จำนวน 284 แห่ง มีจำนวนนักเรียนโรงเรียนเบาหวานวิทยา จำนวน 10,739 คน จำนวนผู้ป่วยหยุดยา 385 คน มีจำนวนผู้ป่วยที่สามารถเข้าสู่ระยะสงบของโรคเบาหวาน (Diabetes Remission) ตามเกณฑ์ทั้งหมด 778 คน และมูลค่าในการปรับลดยา ทำให้ประหยัดเงินไปได้มากถึง 21,939,6000 บาท

ทางด้าน นายแพทย์สามารถ ถิระศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เล็งเห็นถึงความสำคัญการนำหลักสูตรโรงเรียนเบาหวานวิทยามาประยุกต์ ใช้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย จึงกำหนดให้มีการ  Kick off การดำเนินงานตาม นโยบาย NCDs 1001 (อ่านว่า หนึ่งศูนย์ศูนย์หนึ่ง) โดยมีที่มาจาก 100 คือคนโคราชห่างไกลโรค NCDs 100% และ 1 คือ ดำเนินการภายใน 1 ปี ณ อำเภอขามสะแกแสง โดยผสมผสานการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน  ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แบบนับคาร์บ ลดแป้ง ลดนํ้าตาล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้แก่ประชาชนคนโคราช  ภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการคนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ใน  8 setting   ได้แก่  1) Setting โรงเรียน  2) Setting วัด  3) Setting สถานประกอบการ  4) Setting หมู่บ้าน/ชุมชน 5) Setting หน่วยงานราชการ 6) Setting หน่วยบริการสาธารณสุข  7) Setting เรือนจำ และ 8) Setting สถานประกอบการ  (ร้านค้าจำหน่ายอาหาร) ขึ้น เพื่อลดกลุ่มเสี่ยงสร้างเสริมสุขภาพแก่กลุ่มป่วย ให้กลับเป็นประชาชนคนโคราชที่มีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

















 

นนทบุรี - การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘

วันนี้ (๓๐ เมษายน ๒๕๖๘) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมมหาเจษฎาบดินทร์ ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานเปิดการฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ตามโครงการมหาดไทย แรงงาน สานพลังเครือข่าย ร่วมใจต้านอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการและหน่วยงานภาครัฐ จังหวัดนนทบุรี ในรูปแบบการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TTX) และให้หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของทุกหน่วยงานซึ่งตั้งอยู่ภายในศาลากลาง จังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยหน่วยงานสนับสนุน เข้าร่วมการฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟดังกล่าว โดยมีนายสุรเชษฐ วิริยะศิริกุล นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนนทบุรี กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานที่ราชการ ผู้เข้าร่วมฝึกซ้อมประกอบด้วยหน่วยงาน
     ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวต่อไปว่า การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามโครงการมหาดไทย แรงงาน สานพลังเครือข่าย ร่วมใจต้านอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการและหน่วยงานภาครัฐ จังหวัดนนทบุรี นับเป็นโครงการที่ดีมีความสำคัญในการป้องกันและรับมือกับเหตุอัคคีภัย เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ในราชการ ซึ่งปัญหาการเกิดอัคคีภัยอาจมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ เช่น ความประมาท ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการป้องกันและระงับอัคคีภัย  การละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎความปลอดภัย จากความร่วมมือของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน ที่จะให้มีการดำเนินการตามกรอบแนวทางที่กำหนด
เพื่อป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการและหน่วยงานภาครัฐ จังหวัดนนทบุรีได้ให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันและการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุอัคคีภัย จึงกำหนดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ณ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี และ ให้หน่วยงานซึ่งตั้งอยู่ภายในศาลากลางจังหวัด พร้อมด้วยหน่วยงานสนับสนุน เข้าร่วมการฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ เพื่อซักซ้อมระบบบัญชาการเหตุการณ์ การให้หน่วยงานต่าง ๆ มีความพร้อมในด้านบุคลากร ด้านเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ในการป้องกันและรับมือกับเหตุอัคคีภัย สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจในวิธีการและขั้นตอนที่ถูกต้องให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้มีศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนผู้มาขอรับบริการ









นายประยงค์  วิลัย  /ภาพข่าว