ความเป็นมาเป็นไปของ“ทุเรียนหลง-หลินลับแล” ตามตำนานที่เล่าสืบทอดกันมาอย่างยาวนานนั้น เมืองลับแล หรือ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็นเมืองแห่งการ “ห้ามพูดโกหก” ตามหลักฐานที่มีการค้นพบ เชื่อว่าเมืองลับแลเป็นชุมชนเก่าแก่มาตั้งแต่ยุคสุโขทัย ด้วยภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อนเนื่องจากมีหุบเขา เหมาะที่จะปลูกผลไม้นานาชนิด อีกทั้งสมัยครั้งกว่า 100 ปี การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างอำเภอกับอำเภอเป็นไปด้วยความลำบากเพราะเส้นทางคดเคี้ยวคนไม่ชำนาญพื้นที่มักจะพลัดหลงอยู่ตลอด จึงเรียกกันว่า “เมืองลับแล” แปลว่ามองไม่เห็น
ที่นี้มาว่ากันถึงตำนานทุเรียนหลง-หลินลับแล โดย “หลงลับแล” เป็นผลงานของ นายลม-นางหลง อุประ ส่วน “หลินลับแล” เป็นผลงานของนายหลิน ปันลาด ทั้งสองครอบครัวอาศัยอยู่ที่ ต.แม่พูล อ.ลับแล ทั้งสองนำเมล็ดทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองไปปลูกที่เชิงดอยแล้วกลายพันธุ์มาเป็นทุเรียนลูกเล็กเมล็ดเล็กกว่าทุเรียนทั่วไป แต่รสชาติหวานอร่อยในสามโลกและต่อมาปี พุทธศักราช 2520 งานประกวดทุเรียนจัดโดยเกษตรจังหวัดปรากฏว่าทุเรียนของนายลม-นางหลง ที่ตั้งชื่อว่า “หลงลับแล” เพื่อเป็นเกียรติแก่ภรรยาได้รับรางวัลชนะเลิศ ส่วน “หลินลับแล” ของนายหลินรับรางวัลรองชนะเลิศ
ขณะเดียวกันเกษตรจังหวัดประกาศรับรองพันธุ์ทั้ง 2 นี้ให้เป็นทุเรียนของจังหวัด ปัจจุบันนี้จังหวัดอุตรดิตถ์กลายเป็นพื้นที่ที่ปลูกทุเรียนมากจังหวัดหนึ่ง มีเนื้อที่เพาะปลูกถึง 3 หมื่นกว่าไร่ โดยจะปลูกทุกพันธุ์ดังของเมืองไทย เช่น หมอนทอง กระดุม ชะนี ฯลฯ แต่ปลูกหมอนทองมากที่สุดขณะที่ “หลงลับแล” ปลูกราว 2,400 ไร่ และหลินลับแลมีปลูกแค่ 400 ไร่เท่านั้น พราะทุเรียนลับแลเริ่มออก ประกอบกับเป็นที่นิยมและเนื้อทุเรียนค่อนข้างดี ที่ต่างชาติชื่นชอบจะเป็นพันธุ์หมอนทอง หลงลับแล หลินลับแล ส่วนสายพันธ์หมอนทองลับแล กิโลกรัมละ ราคา150-180 สายพันธ์หลงลับแล ราคากิโลกรัมละ 200-450 บาท หลินลับแล ราคา กิโล กรัมละ200-600 บาท ส่วนทุเรียนสายพันธ์ทุเรียนพื้นเมืองจะอยู่ที่ 50-70 บาทซึ่งจะขึ้นอยู่กับเกรดของทุเรียนแต่ละสายพันธุ์นอกจากทุเรียน “หลง-หลินลับแล” จะเป็นทุเรียน 2 สายพันธุ์ ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของกรมส่งเสริมการเกษตรที่จัดประกวดทุเรียนพื้นเมืองแล้ว และทางเกษตรอำเภอลับแลได้ให้ชาวสวน มีการส่งเสริมการปลูก ทุเรียน พันธุ์-หลงหลิน-หลินลับแล ในพื้นที่อำเภอลับแล ขยายพื้นที่การปลูกให้มากขึ้น ประกอบกับการขายยพันธ์ดังกล่าวจะให้เวลาหลายปี กว่าจะออก ผลิตแต่ละปีออกมาน้อย แต่ราคจะสูง ทั้งนี้ทางอำเภอลับแลยังได้ส่งเสริมการตลาดไปสู่หลายจังหวัด ทั้งในตลาดไทย ตลาดต่างๆ หรือตาลาดของตำบลหัวดง อ.ลับแลอีกด้วย
“ สำหรับทุเรียนพันธุ์หลง-หลินลับแล และทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน โดยอำเภอลับแลมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนรวมทุกสายพันธุ์ จำนวน 58,211.50 ไร่ ให้ผลผลิตโดยรวมประมาณ 40,356.01ตัน ซึ่งสร้างรายได้เข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท โดยผลผลิตจะเริ่มออกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายนนี้ ”
ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังได้ประกาศขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ทุเรียนหลง-หลินลับแลอุตรดิตถ์ด้วย ซึ่ง“หลง-หลินลับแล” นับเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เป็นอย่างดี ล่าสุด สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ นำทุเรียนหลงลับแล เข้าประกวดในงาน The International Symposium on Durian and other Humid Tropical Fruits (DHTF 2015) จัด ณ จังหวัดจันทบุรี ผลการประกวด ทุเรียนหลงลับแล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ประเภทกลิ่นอ่อน International Durian Variety (Mild Scent) และทุเรียนหลงลับแล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ประเภทเนื้อสีเหลือง International Durian Variety (Yellow Flesh)
(นายประสิทธิ์ ผึ้งสุข .จ.อุตรดิตถ์/ มือถือ.086-1999966)รายงาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น
(
Atom
)
แสดงความคิดเห็น