By
NEWS24 สถานีประชาชน
•
พฤษภาคม 31, 2568
•
•
1ในข้อบ่งชี้แก้ปัญหาช้างป่าเข้าทำลายพืชผลทางการเกษตรของราษฎรที่มีพื้นที่รอบขอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์หลังปรับปรุงพื้นที่ติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า (Camera Trap) บริเวณแหล่งอาหาร และ แหล่งน้ำ พบสัตว์ป่าชนิดต่างๆเข้ามาใช้ประโยชน์ หลังการสร้างแหล่งอาหารเพิ่มให้สัตว์ป่าแล้ว ระบุเป็นบ่งชี้ว่า งบประมาณที่ได้มา
จากงบจังหวัด งบภาค ไม่ได้ศูนย์เปล่า เป็นการแก้ที่เหตุของปัญหา …เมื่อเวลา 11.50 น.วันนี้ 30 พ.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรี พบเพจ.โดยผู้ใช้ชื่อ Sartra SForester (นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน ในพื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัด จ.ปราจีนบุรี จ.นครราชสีมา) ได้โพสต์
คลิปภาพที่บันทึกได้จากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า (Camera Trap)ทำการถ่ายภาพสัตว์ป่าหลากหลาย ทั้งไก่ป่า หมีป่า เสือโคร่ง โขลงช้างป่าที่มาหากินอาหาร-ดินโป่ง (โป่งเกลือ) พร้อมระบุขอความว่า รู้สึกขอบคุณที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันก่อน……ณ โป่งไก่ตามล่าหมี แล้วพี่ลายก็ตามไป โป่ง
เกลือจากน้ำมือมนุษย์ ที่มักถูกถามว่า ทำแล้วได้ผลจริงอ่ะ? ทำแล้วมีสัตว์ป่ามาใช้ได้จริงรึ? เอางบเอาตังค์ไปทิ้งไว้กลางป่าเสียป่าว? ไปจ้างคนไล่ช้างกลับป่าดีกว่าไหม? พระมักสอนว่า….การจะแก้ปัญหาได้จริง ต้องแก้ที่ "ปม" หรือ "สาเหตุที่แท้จริง" ของปัญหา ไม่ใช่แค่แก้ไขผลกระทบที่เห็นได้ ซึ่งมันจะทำให้ต้องคอยแก้แบบไม่มีหนทางจบสิ้นปัญหา ช่วยกันเถอะ ทุกทาง ทุกมิติที่ดีมีเหตุผล แต่อย่าทิ้งการแก้ที่เหตุของปัญหา … ฯลฯ ...เมื่อชุมชนและธรรมชาติร่วมมือกัน ปกป้อง
มรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย แสงแห่งความหวังใหม่เริ่มฉายชัดในผืนป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน พื้นที่ยุทธศาสตร์ในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี (ที่โป่งเกลือทุ่งหญ้าบริเวณ ผาเม่น ) เมื่อกล้องดักถ่าย (Camera Trap) บันทึกภาพสัตว์ป่าใช้ชีวิตในถิ่นอาศัยที่ได้รับการฟื้นฟู พื้นที่แห่งนี้ตั้งอยู่ใน "เขตแกนกลาง"
ของแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติลำดับที่สองของประเทศไทย และกำลังกลายเป็นสัญลักษณ์ความก้าวหน้าในความพยายามจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่าสัตว์ป่าปรากฏตัวและใช้ประโยชน์ในบริเวณที่ได้รับการปรับปรุงแหล่งอาหารสัตว์ป่า ทั้งในด้านแหล่งอาหารและแหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งพื้นที่นี้ยังเป็นจุดดำเนินการ
"ชิงเผา" ซึ่งเป็นมาตรการเชิงป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของไฟป่าในฤดูแล้ง การชิงเผายังช่วยฟื้นฟูทุ่งหญ้าให้กลับมาเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่า และควบคุมปรสิตที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ได้อีกด้วยการใช้ประโยชน์สัตว์ป่าในพื้นที่ฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่า (Wildlife Recovery Area) นี้ เป็นผลลัพธ์เชิงบวกของการดำเนินงาน
เชิงกลยุทธ์ ภายใต้แผนบริหารจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า โดยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อเปลี่ยนความขัดแย้งสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (HWC C2C – Conflict to Co-existence ) ที่นำโดยอุทยานแห่งชาติทับลาน เป้าหมายหลักของแผนคือการลดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า ควบคู่กับการฟื้นฟูความ
สมดุลของระบบนิเวศ ผ่านกระบวนการจัดการที่ยืดหยุ่น และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
///ภาพข่าว//มานิตย์ สนับบุญ ผู้สื่อข่าวจังหวัดปราจีนบุรี โทร 081 – 5583238 ///สุพจน์บดินทร์(จัด)กุ่มประสิทธิ์ บก.ขาวออนไลน์นิวส์24สถานีประชาชน
แสดงความคิดเห็น