ซึ่งขุนสังขานต์ เป็นสุริยเทพแห่งสงกรานต์ ส่วนสังขานต์ในความหมายของวัฒนธรรมล้านนานั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งอัปลักษณ์ สิ่งชั่วร้ายและเป็นสิ่งย้ำเตือนถึงการล่วงเลยเรื่องราวที่ผ่านมา จึงทำให้มีพิธีกรรมการส่งเคราะห์ของสังขานต์ในรูปแบบต่างๆ ในวันสังขานต์ล่อง ซึ่งจะกระทำหลังวันสงกรานต์ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของปีเก่า โดยวันสังขานต์ในแต่ละปีมักไม่ตรงกันขึ้นอยู่กับการนับเอาปฏิทินล้านนาเป็นตัวกำหนด และในวันนั้นคนล้านนาจะตื่นแต่เช้าตรู่จุดสะโป๊ก หรือประทัด ยิ่งปืน เพื่อขับไล่เสนียดจัญไรไหลล่องไปกับปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์ ซึ่งจะแบกรับเอาสิ่งที่ไม่ดีไม่งามในชีวิตไปเททิ้งที่มหาสมุทรการไล่สังขานต์ด้วยเสียงประทัดหรือสะโป๊กที่ดังแต่เช้าตรู่ จึงทำให้ทุกคนตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนซักที่นอน หมอนมุ้ง แล้วอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาดผ่องใส ถือเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ สิ่งสำคัญในวันนี้คือการ "ดำหัว" โดยน้ำขมิ้นส้มป่อย เพื่อชำระล้างสิ่งอัปมงคล
ภายในงานมีการเดินขบวนแห่ขุนสังขานต์ไปตามถนนวิชยานนท์ บริเวณด้านหน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ ผ่านถนนไปรษณีย์ ถึงจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางกว่า 1.3 กิโลเมตร โดยมีผู้เข้าร่วมขบวนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาภาคประชาชน นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีการออกร้านของชุมชนหัตถศิลป์ล้านนา การจัดกิจกรรมสาธิตภูมิปัญญาล้านนา การจัดกาดหมั้วคัวเมือง (ตลาดล้านนาโบราณ) และการจัดนิทรรศการพื้นถิ่นล้านนา
ส่งศักดิ์ พรมเอี่ยม ศูนย์ข่าวภาคเหนือรายงาน
แสดงความคิดเห็น