โดยในพิธีประกาศปิดอ่าว นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางมาเป็นประธาน พร้อมด้วยนายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง และนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวรายงานและให้การต้อนรับ โดยกรมประมงได้จัดพิธีบวงสรวงพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และพิธีปล่อยขบวนเรือตรวจการประมงจำนวน 14 ลำ เพื่อออกปฏิบัติหน้าที่ในช่วงประกาศใช้มาตรการดังกล่าว ภายในงานยังมีการมอบแผ่นป้ายเงินอุดหนุนโครงสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการประมง ประจำปี 2568 ให้แก่องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในเขตจังหวัดชุมพร จำนวนชุมชนละ 100,000 บาท และร่วมกันปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ประกอบด้วย กุ้งแชบ๊วย จำนวน 300,000 ตัว และปลากระบอก จำนวน 2,000 ตัว รวม 302,000 ตัว ลงสู่ทะเลชุมพรเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า มาตรการ “ปิดอ่าวไทย” เป็นมาตรการสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในฝั่งทะเลอ่าวไทย มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีใช้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรประมงให้เกิดความยั่งยืน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นสำคัญด้วย โดยในปีนี้ กรมประมงยังดำเนินมาตรการปิดอ่าวไทยในช่วงเวลาและพื้นที่เดิม แต่มีการปรับปรุงข้อกำหนดของเครื่องมือประมงบางชนิด เพื่อให้สอดคล้องกับการเคลื่อนที่และวงจรชีวิตของปลาทู โดยผลการสำรวจพื้นที่อ่าวไทยตอนกลางเขตประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ในช่วงเวลา 15 ก.พ. – 15 พ.ค. พบพ่อแม่พันธุ์ปลาทูมีความสมบูรณ์เพศและพร้อมผสมพันธุ์ มากกว่าร้อยละ 80
ในขณะที่ผลการสำรวจเขตทะเลชายฝั่งตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลางของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และในเขตต่อเนื่อง ในช่วงเวลา 16 พ.ค. – 14 มิ.ย. พบลูกปลาวัยอ่อนเจริญเติบโตเลี้ยงตัวบริเวณชายฝั่ง และพบลูกปลาขนาดเล็ก เดินทางเคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยรูปตัว ก เพื่อเจริญเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์
นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่าชาวประมงบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนเครื่องมือและวิธีการทำการประมงในช่วงประกาศใช้มาตราการปิดอ่าวอีกด้วย และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางวิชาการ ข้อกฎหมาย และบริบทการทำ
การประมงที่มีการเปลี่ยนแปลง กรมประมงจึงได้ออกประกาศกรมประมงเพิ่มเติมจากเดิมที่ใช้อยู่ 2 ฉบับเป็น 4 ฉบับ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในรายละเอียดการทำการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกำหนดเรื่องความยาวอวนติดตาปลาและวิธีการทำการประมง ในช่วงที่ 1 (15 ก.พ. – 15 พ.ค.) และข้อกำหนดเรื่องการใช้เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ของมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน บริเวณทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (มาตรการปิดอ่าวไทย) ดังนี้ ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่
เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 22 มกราคม 2568,ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 22 มกราคม 2568, ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568, ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 โดยประกาศทั้ง 4 ฉบับข้างต้น ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ชาวประมง ผู้ประกอบการ นักวิชาการ ฯลฯ และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานภายในและภายนอกกรมประมง และอาจารย์มหาวิทยาลัย แล้วเลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 22 มกราคม 2568,ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 22 มกราคม 2568, ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568, ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 โดยประกาศทั้ง 4 ฉบับข้างต้น ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ชาวประมง ผู้ประกอบการ นักวิชาการ ฯลฯ และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานภายในและภายนอกกรมประมง และอาจารย์มหาวิทยาลัย แล้ว ประสิทธิ์ ลีฬหตุณากร/ชุมพร
แสดงความคิดเห็น