เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 7 พ.ย.2567 ที่ จ.ลำปาง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการศาลเจ้าแม่ทับทิมลำปาง โดยนายธวัชขัย เหลี่ยมว่นิช ประธานอำนวยการจัดงาน พร้อมด้วย นายนิทัศน์ (โกเฮง) เยาวสกุลมาศ ประธานฝ่ายหารายได้ นายวันชัย (โกอ่าง) ชัยรัตนางค์กูล นายธนชัย พงษ์โสภาวิจิตร ที่ปรึกษาเลขานุการแห่เจ้าฯนายบดินทร์ เครือมพรัตน์ เลขานุการแห่เจ้าฯ นายจตุรงค์ ติรรัชกุล เลขานุการศาลเจ้าแม่ทับทิมลำปาง นางสุรางค์ แสนชมภู เหรัญญิกแห่เจ้าฯและนายจักรกริช กาญจนรักษ์ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ ขอเชิญร่วมงานประเพณีแห่เจ้าซือจุง เจ้าปุนเถ่ากง-ม่า เจ้าแม่ทับทิมลำปาง ยิ่งใหญ่ มโหราฬ ตระกาลตา ครั้งที่ 9 ประจำปี 2567ในวันที่ 11 พ.ย.2567 



โดยในวันนี้เวลา 09.00 น. อัญเชิญเจ้าแม่ทับทิมประทับทรง ก่อกองไฟ พิธีเบิกเนตร เวลา 17:00 น. อัญเชิญเจ้าแม่ทับทิม ทำนายทายทัก นั่งบัลลังก็ตะปู นอนเศษแก้ว และ ลุยไฟ จากนั้นทำ "พิธีเจ้นเบี่ยว" (พิธีสืบชะตา)ณ บริเวณศาลเจ้าแม่ทับทิมลำปาง อ.เมืองลำปาง ได้รับความสนใจจากชาวลำปางและนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานจำนวนมาก



จากนั้นวันที่ 11 พ.ย. 2567 เวลา 08.09 น. พิธีปล่อยขบวนแห่เจ้าซือจุง เจ้าพ่อปุนเถ่ากง-ม่า เจ้าแม่ทับทิมลำปางณ "ข่วงนคร" เทศบาลนครลำปาง ตามถนนบุญวาทย์ - ทิพย์ช้าง ช่วงบ่าย ชมขบวน แห่เจ้าซือจุง เจ้าพ่อปูนเถ่ากง-ม่า เจ้าแม่ทับทิมลำปาง เริ่มปล่อยขบวน ณ โรงเรียนประชาวิทย์ ไปตามถนนสบตุ๋ยจนสิ้นสุด ณ สามแยกเก๊าจาว จากนั้นรถประทับเจ้าซือจุง เจ้าพ่อปุนเถ่ากง-ม่า เจ้าแม่ทับทิมไปสิ้นสุด ณ ถนนหน้าบ้านพักประธานกิตติมศักดิ์ถาวรมูลนิธิลำปางสงเคราะห์ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วให้ผู้ร่วมขบวนไปร่วมรับประทานอาหารเย็น (โต๊ะจีน) ณ สถานที่กำหนดไว้



สำหรับช่วงระหว่างวันที่ 14 -19 พ.ย. 2567 มีการแสดงอุปกรากรจีนใหหน้ำชุดใหญ่ คณะ "ยี่หนำ" รวม 6 คืน.เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์พูนผลให้แก่พี่น้องประชาชนชาวลำปาง และ จังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย - จีน ที่เคยปฏิบัติมาในอดีต พร้อมทั้งมีความเชื่อว่าหากเดินทางไปสถานที่ ณ ที่ใดๆ ก็ขอให้กราบไหว้ หรือระลึกถึงก็จะช่วยให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ปราศจากภัยภยันอันตรายใดๆ ถือเป็นเครื่องเหนี่ยวจิตใจมาแต่ครั้งโบราณกาล ปีนี้ "ปีมังกรทองมงคล" นับว่าเป็นปีที่คาดการณ์ไว้ว่า พี่น้องไทยเชื้อสายจีนใน จ.ลำปางนับเป็นหมื่นๆ ชีวิตจะร่วมพิธีดังกล่าว หลังจากว่างเว้นมา 6 ปี นอกจากนี้จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาร่วมชมขบวนแห่เจ้าฯอีกจำนวนมาก เพื่อเป็นประเพณีสืบทอดจนถึงบุตร-หลาน-เหลน ในอนาคตของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดลำปางตลอดไป.







วินัย บุญมีพิสุทธิ์/ลำปาง รายงาน.

แสดงความคิดเห็น