การประกอบอาชีพทางการเกษตรที่มีความเชื่อเกี่ยวกับผีเข้ามาเชื่อมโยงการรักษาโรค หรือพิธีสู่ขวัญ แต่งแก้เสียเคราะห์ที่นำมาซึ่งความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ และพิธีกรรมการเซ่นไหว้บูชาผีปู่ตาหรือผีบรรพบุรุษที่จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอทุกปีพิธีกรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นการผสมผสานกลมกลืนระหว่างความเชื่อเดิมในท้องถิ่นกับความเชื่อกระแสหลักที่เข้ามาในภายหลังซึ่งมีการเลือกรับและปรับเข้าหากัน เป็นความเชื่อทับซ้อนในพื้นที่จนเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น และที่จังหวัดชัยภูมิ เองก็เช่นกัน ในช่วงบุญข้าวสาก หรือ บุญเดือน 10 ประเพณีของชาวอีสาน ลูกหลานจะไปทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนผีที่ไม่มีญาติ ลูกหลานไม่ได้ไปทำบุญให้ จะไปขอรับส่วนบุญหรืออาหารจากผีตนอื่น แต่ด้วยความอับอาย เลยเอาสุ่มไก่มาคลุมหัวคลุมตัว จึงเป็นที่มาของการละเล่น “ผีสุ่ม“ เพื่อเตือนใจ ให้ลูกหลาน เมื่อถึงบุญข้าวสาก บุญเดือน 10 ให้กลับบ้านมาทำบุญใหญ่ ระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีผีสุ่มทั้งประเภทสวยงาม และประเภทความคิดสรรค์ จาก 15 หมู่บ้านของตำบลบ้านเล่า จัดขบวนแห่ ขบวนการละเล่น การแสดงของผีสุ่ม การทำบุญทำทาน อุทิศส่วนกุศลให้บรรพชน ที่ล่วงลับไปแล้ว แห่ขบวนผีสุ่ม
ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่ตำบลบ้านเล่า ก่อนจะวกกลับมายังวัดสมศรี เพื่อร่วมกันนำข้าวสาร อาหารแห้ง ที่ได้รับบริจาคมารวมที่จุดรวมข้าสาก ทำพิธีถวายข้าสาก และอุทิศส่วนกุศลให้ผีบ้าน ผีปู่ย่าตายาย ผีไม่มีญาติ การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ ตลอดทั้งวัน ไฮไลท์ของการจัดแห่ผีสุ่มคือการนำอุปกรณ์ในการทำการเกษตรมาเคาะตี ให้เกิดจังหวะ แล้วร่วมกันเต้นรำ ผีสุ่มแต่ละตัวจะโยกย้าย สายเอว สายหัวที่ครอบด้วยผีสุ่ม รูปลักษณ์แปลกตาในเชิงสรรค์ สวยงาม ไปตามเส้นทางในหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านต่างๆ จะออกมาร่วมทำบุญ นำเอาข้าวของ อาหาร น้ำดื่มมาให้ผีสุ่มที่แห่มากับขบวนแห่ พร้อมกับอธิษฐานแผ่เมตตาให้กับผีปู่ย่าของตน เจ้ากรรมนายเวร และผีไม่มีญาติทั้งหลาย โดยข้าวของที่นำมาวางไว้นั้น ทางญาติ ๆ จะแจ้งให้พระแม่ธรณีทราบไว้แล้วว่าเป็นของผีตนใด
ประเพณีแห่ผีสุ่มเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวบ้านที่บ้านเสี้ยวน้อย ตำบลบ้านเล่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งปีนี้ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 14–15 กันยายน 2567 ปีนี้เป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ โดยในวันที่ 14 กันยายน 2567 มีขบวนแห่ผีสุ่มเพื่อบอกกล่าวและบอกบุญที่บริเวณชุมชนตลาดในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ โดยเริ่มต้นจากหน้าอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล ไปตามถนนบรรณาการ ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาไปตามถนนโนนม่วง ถึงสี่แยกโรงเลื่อยเลี้ยวขวาผ่านมูลนิธิ สว่างคุณธรรม ถึงสี่แยกหนองบ่อ เลี้ยวขวาผ่านตลาดสดเทศบาล และสิ้นสุดขบวนแห่ที่อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล ในระหว่างขบวนแห่ผ่านก็ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมทำบุญกับผีสุ่ม โดยนำข้าวสาร อาหารแห้ง ใส่ในตะกร้าผีสุ่มเพื่อนำไปทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วร่วมกันที่วัดสมศรีฯ
ในส่วนของวันที่ 15 กันยายน เริ่มตั้งแต่เวลา 06.30 น. ทำพิธีไหว้ผีบ้าน ผีปู่ย่าตายาย บวงสรวงผีสุ่มและทำบุญบุญเดือนสิบ บุญข้าวสาก บริจาคทานให้กับญาติ ผู้ที่ล่วงลับ โดยมีนายสมบัติ ไตรศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิเป็นประธานเปิดงานประเพณีแห่ผีสุ่ม นางสาวอรอาภา โล่ห์วีระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิพร้อมด้วยนางสาวณัฏฐ์ชุดา นันทนิ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยภูมิ ผศ.ดร.สานนท์ ด่านภักดี รักษาราชการแทน อธิการบดี มหาลัยราชภัฏชัยภูมและนักศึกษา คณะผู้บริหาร อบต.บ้านเล่า หัวหน้าส่วนราชการ ชาวบ้านเสี้ยวน้อยและนักท่องเที่ยวให้การต้อนรับและร่วมพิธีกว่า 1000 คน สำหรับวันนี้ได้มีขบวรแห่ผีสุ่มจากบ้านเล่ามาที่วัดวัดสมศรี จากนนั้น ก็ได้มีพิธีทางศาสนา โดยมีการจัดเครื่องเซ่นไหว้บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์พร้อมจุดธูปมงคล ก่อนทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการและจัดให้มีการแสดง ความเป็นมาเกี่ยวกับประเพณีผีสุ่มในครั้งนี้อย่างคึกคัก
สำหรับประเพณีแห่ผีสุ่มนี้ชาวบ้านเสี่ยวน้อยได้ร่วมกันทำติดต่อกันนามกว่าสิบปีแล้วโดยจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนกันยายนของทุกปี หรือ15ค่ำเดือน10ของทุกปีถือว่าเป็นบุญเดือนของชุมชนเพื่อให้ลูกหลานได้มีโอกาสร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้พ่อแม่พี่น้องและญาติๆทีได้ล่วงลับไปแล้วจากนั้นจะเป็นขบวนแห่ผีสุ่มของชาวบ้านทั้ง15 หมู่บ้านของตำบลบ้านเล่า และจากตำบลใกล้เคียง ตั้งต้นจากโรงเรียนบ้านเสี้ยวน้อยไปยังวัดสมศรี เพื่อเข้าสู่พิธีเปิดงานประเพณีแห่ผีสุ่ม บุญเดือนสิบ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเล่าขานตำนานผีสุ่ม การประกวดชุดผีสุ่ม ประกวดวาดภาพ สาธิตการทำหน้ากากผีสุ่ม พร้อมตลาดนัดชุมชน สอยดาวชิงโชคชิงรางวัลให้กับผู้ที่มาในงานด้วย
ภาพ/ข่าว_อุดม ลีหัวสระ จ.ชัยภูมิ
แสดงความคิดเห็น