โดยเบื้องต้น ทราบว่า บจก. ซิโนเพค เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป (ไทยแลนด์) ได้รับเหมางานจาก บมจ.ไทยออยล์ มีลูกจ้างทำงานประมาณ 1,000 คน ได้ค้างจ่ายค่าจ้างตั้งแต่เดือน พ.ค.-มิ.ย. รวมเป็นเงินประมาณ 134 ล้านบาท และปัจจุบันประสบปัญหาไม่สามารถกำหนดวันจ่ายค่าจ้างได้
โดยในที่ประชุมร่วมกับผู้แทน บมจ.ไทยออยล์, บจก. ซิโนเพค เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป (ไทยแลนด์), ผู้บริหารกิจการร่วมค้า UJV, และฝ่ายปกครองของ อ.ศรีราชา ทราบว่าสาเหตุการค้างจ่ายค่าจ้างดังกล่าว เกิดจาก บจก. ซิโนเพค เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป (ไทยแลนด์) ไม่ได้รับเงินค่างวดงานตามสัญญาจ้างงานจากกิจการร่วมค้า UJV
โดยในวันอังคาร 30 ก.ค. ได้รับแจ้งว่ามีคนงานประมาณ 80-90 คน เข้ามาลงบึนทึกคำร้อง (คร.7) เพื่อรับค่าชดเชย ที่สำนักงานสวัสดิการ และคุ้มครอง ตนจึงอยากให้ พี่น้องชาวแรงงานเดินทางไปลง การยื่นคำร้อง (คร.7) เพื่อรับค่าชดเชย เงินอื่น ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างที่ รวมทั้งขอให้ผู้ชุมนุม ต่อจากนี้ทางบมจ.ไทยออยล์ จะเรียกประชุม บริษัท ซับคอนแทรคฯ อันดับที่ 2 –และอันดับที่ 3 มาพูดคุยกันว่าปัญหานี้จะจ่ายเงินกันอย่างไรและการจ่ายกันยังไง อะไรยังไง เพื่อประนีประนอมกันแล้วก็มาถามว่าคุณจะจ่ายค่าชดเป็นเจ้าภาพในเบื้องต้น
สำหรับความเสียหายของนายจ้างที่เป็นซับคอนแทรคฯ ของในเป็นทรัพย์คนไทยในลำดับที่ 3 ตนพยายามกระตุ้นให้เขาจ่ายเงินให้กับแรงงานก่อนและความเสียหายที่เกิดขึ้น ส.ส.เองอยากจะให้ซับคอนแทรคฯ
เป็นของพี่น้องชาวไทยหรือเป็นร่วมหุ้นกับพี่น้องชาวต่างประเทศ มาลงทะเบียนที่สำนักงานส.ส.นะครับเพื่อที่ว่าวันที่วันพุธจะไปทำหนังสือยื่นขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
ซึ่งจะมีการนัดพูดคุยกันอีกครั้งในวันที่ 30 กรกฎาคม 67 บริษัทผู้รับเหมาต้นเรื่อง ให้คำตอบว่ายังไม่มีเงิน กำลังทำเรื่องกู้อยู่ กระทบแรงงานต่างชาติ ชาวเวียดนาม หลายร้อยชีวิต และคนไทย บริษัทต้นเรื่อง ยืนยันคำเดิม ตอนนี้ไม่มีเงิน ไม่สามารถจ่ายให้ได้ ด้านผู้ชุมนุมแรงงานผู้รับเหมา จะยกระดับการชุมนุมโดยการรวมพนักงานหลักพันคน ในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ เพื่อกดดันให้บริษัทต้นเรื่องรับผิดชอบเงินทั้งหมด ที่คงค้างค่าแรง ที่พึงต้องจ่าย
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทไทยออยล์เป็นแต่อย่างใด เพราะบริษัทไทยออยล์ได้ทำการจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้รับเหมาต้นเรื่องไปทั้งหมดแล้ว
แสดงความคิดเห็น